งานวิจัยเกี่ยวกับ ขมิ้นชัน

>> กระดูก <<

น้ำมันขมิ้นชันกับฤทธิ์ต้านภาวะหลอดเลือดแข็งตัวและฤทธิ์ต้านการอักเสบ  14/09/15
น้ำมันขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้านภาวะหลอดเลือดแข็งตัวและต้านการอักเสบโดยมีกลไกการออกฤทธิ์ผ่านการกระตุ้นและยับยั้งการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและสลายไขมันรวมทั้งยับยั้งกระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้นจากการได้รับอาหารที่มีไขมันสูง


ขมิ้นชันกับการป้องกันกระดูกพรุน  18/03/11
สารสกัดจากขมิ้นชันอาจมีฤทธิ์ปกป้องกระดูก ซึ่งปริมาณสารสำคัญที่เป็นส่วนประกอบในสารสกัดจากขมิ้นชันก็เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญด้วยเช่นกัน

 

>> เบาหวาน <<

ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของ Curcumin จากขมิ้นชัน  30/12/11
curcumin มีฤทธิ์ในการป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน จึงอาจเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้เสริมการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้


ฤทธิ์ป้องกันการทำลายสมองเนื่องจากเบาหวานของขมิ้นชัน  08/05/08
เมื่อให้หนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานโดยการฉีด streptozotocin กินสาร tetrahydrocurcumin (THC) จากขมิ้นชัน ขนาด 80 มก./กก. นาน 45 วัน พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง และระดับอินซูลินในเลือดสูงขึ้น THC จากขมิ้นจะช่วยป้องกันการทำลายสมองอันเนื่องมาจากการเป็นเบาหวาน โดยไปเพิ่มเอนไซม์ที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ คือ superoxide dismutase, catalase, glutathione peroxidase, glutathione-S-transferase และ reduced glutathione ในสมองของหนู พร้อมทั้งลด lipid peroxidation ซึ่งทำให้เกิดการทำลายเมมเบรนในสมอง


ผลของสาร curcumin จากเหง้าขมิ้นในการบรรเทาอาการปวดตามปลายเส้นประสาทในหนูที่เป็นเบาหวาน  17/08/07
การให้ insulin ร่วมกับ resveratrol หรือ curcumin มีผลช่วยบรรเทาอาการปวดในหนูที่เป็นเบาหวานได้

 

>> มะเร็ง และอนุมูลอิสระ <<

การเสริมฤทธิ์ยาต้านมะเร็งของสาร curcumin จากขมิ้นชัน  07/09/15
การให้สาร curcumin ร่วมกับยาอ๊อกซาลิพลาติน มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่อทำการทดสอบในสัตว์ทดลอง ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์คือการเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์แบบ apoptosis


ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระในเซลล์ประสาทหนูเมาส์ของสารเคอร์คิวมิน  02/03/12
สารเคอร์คิวมินมีผลในการปกป้องเซลล์ประสาทของหนูเมาส์จากการทำลายของสารอนุมูลอิสระที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซึ่งสารเคอร์คิวมินน่าจะนำไปพัฒนาเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากความเสื่อมทางระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสันได้


ผลของ curcumin ในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและต้านอนุมูลอิสระในหนูที่อดนอน  03/10/08
"การศึกษาผลการป้องกันการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระของสาร curcumin จากขมิ้นชันในหนูถีบจักรที่เหนี่ยวนำให้อดนอนนาน 72 ชม. พบว่าเมื่อให้ curcumin ขนาด 10 และ 20 มก./กก. โดยการฉีดเข้าทางช่องท้องของหนู จะมีผลป้องกันการลดลงของน้ำหนัก ทำให้เคลื่อนไหวได้มากขึ้น ลดอาการกระวนกระวายของหนู
ยังมีผลต้านอนุมูลอนุอิสระโดยลดการเกิด lipid peroxidation ลดระดับ nitrite เพิ่มระดับ glutathione และเอนไซม์ catalase การให้ curcumin ขนาด 10 มก./กก. ร่วมกับ L-arginine ซึ่งเป็น nitric oxide precursor ขนาด 50 มก./กก. จะให้ผลตรงกันข้ามกับการให้ curcumin อย่างเดียว แต่ถ้าให้ curcumin ขนาด 10 มก./กก. ร่วมกับ L-NAME ซึ่งเป็น nitric oxide synthase inhibitor ขนาด 5 มก./กก. จะเสริมฤทธิ์ของ curcumin ให้เพิ่มขึ้น แสดงว่าผลในการป้องกันของสาร curcumin ในหนูจะเกี่ยวข้องกับการเพิ่มปริมาณของ nitric oxide ซึ่งเป็นอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง"

 

>> ไขมัน หลอดเลือด และหัวใจ <<

น้ำมันขมิ้นชันกับฤทธิ์ต้านภาวะหลอดเลือดแข็งตัวและฤทธิ์ต้านการอักเสบ  14/09/15
น้ำมันขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้านภาวะหลอดเลือดแข็งตัวและต้านการอักเสบโดยมีกลไกการออกฤทธิ์ผ่านการกระตุ้นและยับยั้งการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและสลายไขมันรวมทั้งยับยั้งกระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้นจากการได้รับอาหารที่มีไขมันสูง


ผลของการรับประทานสารสกัดเคอร์คูมินอยด์จากขมิ้นชันในผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีไขมันในเลือดสูง  02/12/13
การรับประทานสารสกัดเคอร์คูมินอยด์จากขมิ้นชัน 1 กรัม/วัน นาน 30 วัน สามารถลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ แต่ไม่มีผลต่อค่าไขมันตัวอื่นในเลือด รวมน้ำหนักร่างกาย และดัชนีมวลกายด้วย


ฤทธิ์ลดไขมันและต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันขมิ้นชัน  12/04/12
น้ำมันขมิ้นชันมีผลในการลดไขมันและป้องกันตับถูกทำลายในหนูได้ โดยเป็นผลมาจากฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของน้ำมัน ดังนั้นน้ำมันขมิ้นชันอาจนำมาใช้ในการช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดได้


สารเคอร์คูมินช่วยให้การอักเสบที่หัวใจดีขึ้นในหนูที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ  10/08/12
สารเคอร์คูมินจากขมิ้นชันมีฤทธิ์ที่ป้องกันการอักเสบหัวใจในหนูที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่กล้ามเนื้อหัวใจ โดยมีผลลดระดับโปรตีน(interleukin-1-beta, tumor necrosis factor-alpha, nuclear factor kappa Bp65 และ GATA-4) ที่ทำให้เกิดการอักเสบได้

 

>> ฤทธิ์ต้านจุลชีพ และอื่นๆ <<

ฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอของสารสกัด curcuminoids จากขมิ้นชัน  17/12/12
สารสกัด curcuminoids จากขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสไขหวัดใหญ่ชนิดเอได้


ฤทธิ์ต้านเชื้อราและสารก่อมะเร็งของน้ำมันจากใบขมิ้น  16/12/11
ส่วนประกอบหลักที่อยู่ในน้ำมันคือ α-phellandrene, p-cymene และ terpinolene ซึ่งแสดงให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่จะนำน้ำมันหอมระเหยจากใบขมิ้นชันมาพัฒนาเป็นสารกันบูดต่อไป


ฤทธิ์ต้านเชื้อ E. coli ของน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชัน   30/10/01
น้ำมันจากใบและเหง้าขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) สกัดด้วยวิธีกลั่นระเหยด้วยไอน้ำ และวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี โดยวิธี Gas Chromatography พบว่า น้ำมันจากใบขมิ้นชันมีสารเคมีกลุ่มโมโนเทอร์ปีนส์อยู่มาก แต่น้ำมันเหง้าขมิ้นชันมีสารประกอบกลุ่ม เซสควิเทอร์ปีนส์ และเซสควิเทอร์ปีน คีโตน เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ น้ำมันจากใบและเหง้าขมิ้นชัน แสดงฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย E. coli สารพันธุ์ MTCC-443 มีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งเชื้อ (Minimum inhibition concentrations, MICs) เท่ากับ 15.62 และ 125 ไมโครลิตร ต่อ มิลลิลิตร ตามลำดับ


ขมิ้นชัน: ฤทธิ์ทางชีววิทยาใหม่   14/09/00
Curcumin I,II และ III ซึ่งแยกได้จากเหง้า(rhizome) ของขมิ้นชันแสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ topoisomerase I และ II ar-turmerone เป็น sesquiterpene ketone ในน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ฆ่ายุง (mosquitocidal) ส่วนสารสกัดเฮกเซนจากใบขมิ้นชันให้สาร labda-8 (17), 12-diene-15,16-dial มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราชนิด Candida albicans


ฤทธิ์ยับยั้งการแพ้จากขมิ้นชัน   29/03/01
สารสกัดเอทิลอะซิเตตและcurcumin จากขมิ้นชัน ( Curcuma longa Linn. ) ขนาดความเข้มข้น 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร แสดงฤทธิ์ต้านการหลั่ง histamine

 


ข้อมูลจาก สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
www.medplant.mahidol.ac.th/active/news.asp


  • การศึกษาในสัตว์ทดลองหรือในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดหรือสารสำคัญของขมิ้นชันมีฤทธิ์ทางยาที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้ 1. ฤทธิ์ขับน้ำดี กระตุ้นการขับน้ำดีทำให้การย่อยอาหารดีขึ้นช่วยบรรเทาอาการ...
Visitors: 301,516