เซียงซาหยางเว่ย(เฮียงซาเอียงอุ่ย) 香砂養胃 Xiang Sha Yanag Wei

XIANG SHA YANG WEI TANG - 香砂養胃湯 

香砂養胃湯 เซียงซาหยางเว่ย หรือเฮียงซาเอียงอุ่ย ในสำเนียงจีนแต้จิ๋ว เป็นตำรับยาโบราณอีกหนึ่งตำรับ ที่ใช้เกี่ยวกับอาหารของระบบย่อยที่ทำงานผิดปกติ จากความชื้น ทำให้ม้ามและกระเพาะอาหารทำงานผิดปกติไป

ส่วนประกอบ

  • 人參 Ren Shen   บำรุงพลังของม้ามและกระเพาะอาหาร

    ใช่ร่วมกับ Bai Zhu บำรุงการทำหน้าที่ แปรรูปและลำเลียงของม้าม

  • 党参 (Dang Shen)   บำรุงจงเจียว, เสริมพลัง ใช้แทนโสมคนได้
    ใช้ร่วมกับ Fu Ling เมื่อม้ามและกระเพาะอาหารพร่อง มีอาการล้า อุจจาระเหลวหรือท้องเสีย

  • 白术 Bai Zhu บำรุงม้าม เติมพลัง ทำให้ความชื้นแห้ง ส่งเสริมกระบวนการเมตะบอริซึ่มของน้ำ

    ใช้ร่วมกับ Fu Ling และ Zhi Gan Cao สำหรับพลังของม้ามและกระเพาะอาหารพร่อง

  • 茯苓 Fu Ling ส่งเสริมการปัสสาวะ, ขับไล่ความชื้น, เสริมสร้างความแข็งแกร่งของม้ามและประสานจงเจียว
    ด้วย Bai Zhu เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ม้ามและแก้ไขความชื้น
    ใช้ร่วมกับ Ren Shen และ Bai Zhu สำหรับม้ามอ่อนแอและพร่อง ร่วมกับอาการอ่อนล้า เบื่ออาหาร และอุจจาระเหลว
    ใช้ร่วมกับ Mu Xiang สำหรับอาการท้องเสีย เนื่องจากความชื้น

  • 厚朴 Jiang Zhi Chao Hou Po ส่งเสริมการเคลื่อนไหวของพลังในจงเจียว, แก้ไขความเมื่อยล้า, กดพลังที่กำเริบขึ้น, กำจัดความชื้นให้แห้ง ลดเสมหะ
    ใช้ร่วมกับ Xiang Fu และ Chen Pi สำหรับอาการท้องอืดท้องและหน้าท้องบวม เนื่องจากความชื้นกีดขวางพลัง

  • 陈皮 Chen Pi ควบคุมพลัง, ปรับจงเจียว, ผ่อนคลายกระบังลม, กดพลังลง, ทำให้ความชื้นแห้ง และเปลี่ยนเสมหะ
    ใช้ร่วมกับ Sheng Jiang ในอาการอาเจียนและสะอึกเนื่องจากความไม่กลมกลืนกันของพลังของกระเพาะอาหาร
    ใช้ร่วมกับ Bai Zhu สำหรับอาการเบื่ออาหารและอาการอื่น ๆ ของความชื้นกีดขวาง เนื่องจากม้ามพร่อง
    ใช้ร่วมกับ Sha Ren สำหรับความชื้นขัดขวางการทำหน้าที่แปรรูปและลำเลียงของม้าม

  • 香附 Chao Xiang Fu กระจายและควบคุมพลังตับ , บรรเทาความเจ็บปวด
    ใช้ร่วมกับ Sha Ren และ Mu Xiang สำหรับแผลและการระคายเคืองในทางเดินอาหาร

  • 白豆蔻 Bai Dou Kou ส่งเสริมการเคลื่อนไหวของพลัง, เปลี่ยนความชื้น, เพิ่มความแข็งแกร่งให้กระเพาะอาหาร, อุ่นจงเจียว, กดพลังลง และหยุดอาเจียน
    ใช้ร่วมกับ Sha Ren สำหรับอาการแน่นในหน้าอก, อาการปวดแน่นท้อง, คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องเสีย, เบื่ออาหาร และฝ้าลิ้นหนาเนื่องจาก พลังถูกกีดขวางจากควา เย็น-ชื้น
    ใช้ร่วมกับ Chen Pi สำหรับอาการแน่น ไม่สบายในหน้าอกและช่องท้อง, เรอ, คลื่นไส้, อาเจียนและท้องเสีย เนื่องจากการพร่องของ ม้ามและกระเพาะอาหาร ร่วมด้วยความชื้นสะสม

  • 木香 Mu Xiang ส่งเสริมการเคลื่อนไหวของพลัง, บรรเทาอาการปวด, ปรับและควบคุมพลังที่หยุดนิ่งในลำไส้, ขับไล่ความร้อนชื้นและทำให้ตับและม้ามทำงานกลมกลืน
    ใช้ร่วมกับ Sha Ren สำหรับอาการท้องอืด ปวดท้องและลิ้นปี่, เบื่ออาหาร, คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องร่วง เนื่องจากการอุดตันของพลัง และ / หรืออาหารไม่ย่อย
    ร่วมกับ Bai Zhu เมื่อเบื่ออาหาร ร่วมกับอาการปวดแน่นลิ้นปี่ และช่องท้อง
    ใช้ร่วมกับ Sha Ren, Ren Shen และ Bai Zhu ในอาการเบื่ออาหาร ท้องอืดแน่น ซึ่งดีขึ้นเมื่อให้ความอบอุ่น

  • 砂仁 Sha Ren ส่งเสริมการเคลื่อนไหวของ Qi, เปลี่ยนความหอม, เพิ่มความแข็งแกร่งให้ม้าม, หยุดอาเจียน, ทำให้อุ่นกลางและหยุดท้องเสีย

    ใช้ร่วมกับ Hou Po และ Bai Dou Kou ในอาการปวดแน่นลิ้นปี่และช่องท้อง คลื่นไส้และอาเจียนเนื่องจากพลังของม้าม/กระเพาะอาหารหยุดนิ่ง
    ใช้ร่วมกับ Ren Shen และ Bai Zhu เมื่อม้ามและกระเพาะอาหาร พร่อง

  • 生姜 Sheng Jiang อบอุ่นจงเจียว, หยุดอาเจียน, ทำให้การไหลเวียนของพลังเป็นปกติ, ลดความเป็นพิษของสมุนไพรอื่น ๆ
    ใช้ร่วมกับตั่วจ้อ ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องคลื่นไส้และอาเจียนโดยการเสริมสร้างม้าม ปกป้องพลังของกระเพาะอาหาร, ลดการระคายเคืองของระบบทางเดินอาหารจากสมุนไพรอื่น ๆ

  • 炙甘草 Zhi Gan Cao บำรุงม้าม เสริมพลังทดแทนที่หมดไป, ลดอาการเกร็ง, บรรเทาอาการปวด, ลดและทำให้คุณสมบัติที่รุนแรงของสมุนไพรอื่นกลมกลืนกัน, นำฤทธิ์ยาของสมุนไพรเข้าสู่เส้นลมปราณทั้งสิบสองช่อง
    ใช้ร่วมกับ Ren Shen, Fu Ling และ Bai Zhu เพิ่มความแข็งแกร่งของม้ามและเพิ่มพลัง

  • 大枣 Da Zao บำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร, เติมพลัง, ลดและทำให้คุณสมบัติที่รุนแรงของสมุนไพรอื่นกลมกลืนกัน

 

 

กลไกการออกฤทธิ์ของตำรับ

  • เสริมสร้างและประสานม้ามและกระเพาะอาหารให้กลมกลืน
  • ขจัดความชื้น
  • ปรับปรุงความอยากอาหาร


โรคที่ใช้ตำรับนี้

ความไม่เข้ากันระหว่างม้ามและกระเพาะอาหารจากความชื้น

 

อาการที่ปรากฏ

  • อาการเบื่ออาหาร
  • สูญเสียการรับรู้รสชาติ
  • รับประทานได้ทีละน้อย
  • ท้องอืดหลังจากรับประทานอาหาร
  • ท้องร่วง
  • คลื่นไส้ / อาเจียน
  • ใจสั่น
  • อาหารไม่ย่อย
  • ไม่สบายท้อง
  • แน่นหน้าอก

 

ตำรับนี้ จะเน้นการขจัดความชื้นออกจากระบบย่อยมากกว่าตำรับ เซียงซาลิ่วจุนจื่อ ซึ่งจะเน้นการบำรุงระบบย่อยมากกว่าตำรับนี้ 

 

Visitors: 283,963