FAQ-เลือด

เลือดพร่อง - คำถามที่พบบ่อย

  • เลือดพร่อง มีอาการอย่างไร
  • สาเหตุของการเกิดเลือดพร่องแต่ละกลุ่ม
  • จำแนกได้อย่างไรว่า เลือดพร่องในกลุ่มอาการไหน
  • หลักการรักษาเลือดพร่อง
  • ทำไมจึงต้องบำรุงพลัง(ชี่) พร้อมกับบำรุงเลือด
  • โภชนาการบำบัดบำรุงเลือด
  • สมุนไพรบำรุงเลือด

 

 

อาการของเลือดพร่อง

เลือดพร่องในทัศนะการแพทย์แผนจีน ไม่ได้ หมายถึงภาวะโลหิตจางเท่านั้น แต่รวมถึงความผิดปกติทั้งด้านปริมาณและคุณภาพของเซลล์เม็ดเลือด ความผิดปกติของสารเคมีและสารอาหารในเลือด การไหลเวียนช้าลงของเลือด อาการของเลือดพร่องจึงเกิดขึ้นได้กับทุกๆ ระบบของร่างกาย แสดงออกในรูปของ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้าตาซีดเซียว ไม่มีเลือดฝาด เล็บซีดและเปราะ นอนไม่หลับ ฝันบ่อย หาวนอนบ่อย ใจสั่น เวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย มือเท้าชา ประจำเดือนมาน้อยหรือสีซีด มีบุตรยาก แท้งบุตร ตาแห้ง ตาขาวขุ่นลง ภูมิคุ้มกันต่ำ ติดเชื้อง่าย ผิวหนังหยาบกร้าน ผมแห้งหลุดร่วงง่าย อุจจาระแข็ง เป็นต้น

เลือดพร่องสามารถจำแนกอาการได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

  • เลือดของหัวใจพร่อง
  • เลือดของตับพร่อง
  • พลังของม้าม และเลือดพร่อง

 

สาเหตุของการเกิดเลือดพร่องแต่ละกลุ่ม

ภาวะเลือดของหัวใจพร่อง

  • เกิดจากภาวะทุพโภชนาการ (ทำให้พลังของม้ามพร่อง ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดพร่อง และส่งผลกระทบต่อหัวใจ ทำให้เกิดภาวะเลือดของหัวใจพร่อง ในภาวะเลือดของหัวใจพร่องจึงมักพบร่วมกับภาวะพลังของม้ามพร่องด้วย)
  • ความวิตกกังวลเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิด บั่นทอนการทำหน้าที่ของหัวใจ
  • การเสียเลือดมาก

ภาวะเลือดของตับพร่อง

  • เกิดจากภาวะทุพโภชนาการขาดสารอาหารประเภทโปรตีน หรือการเสียเลือดมาก
  • ร่วมกับ พลัง หรือสารจำเป็นของไตพร่อง

ภาวะพลังของม้ามพร่องและเลือดพร่อง

  • สาเหตุที่มักพบคือ การรับประทานอาหารดิบหรืออาหารที่มีฤทธิ์เย็น เช่นผักสด มากเกินไป
  • การรับประทานอาหารประเภทโปรตีนน้อยเกินไป

 สาเหตุอื่นๆของเลือดพร่อง

  • การเสียเลือด เช่น สตรีมีประจำเดือน สตรีหลังคลอดบุตร แผลในกระเพาะ พยาธิในลำไส้ หรือ ผู้เสียเลือดมากจากเหตุอื่นๆ
  • การตรากตรำงาน
  • เครียดเรื้อรัง

 

 

จำแนกได้อย่างไรว่า เลือดพร่องในกลุ่มอาการไหน

อาการร่วมของเลือดพร่องแต่ละกลุ่มคือ วิงเวียน ซีดเซียว ไม่มีเลือดฝาด

  • หากมีอาการเกี่ยวสมอง และจิต เช่น เวียนหัว ตกใจง่าย วิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุ นอนไม่หลับ นอนฝันมาก ลืมง่าย นี่เป็นกลุ่มอาการของเลือดหัวใจพร่อง
  • หากมีอาการเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ และสายตา เช่น แขนขาชา กล้ามเนื้อ่อนแรง หดเกร็ง เป็นตะคริวบ่อย ปวดชายโครง มองภาพไม่ชัดเวลากลางคืน เป็นกลุ่มอาการของเลือดของตับพร่อง
  • หากมีอาการเกี่ยวกับระบบย่อยด้วย เช่น ถ่ายเหลว เบื่ออาหาร นี่เป็นกลุ่มอาการของพลังม้ามพร่อง

 

หลักการรักษาเลือดพร่อง

  • เลือดของหัวใจพร่อง บำรุงเลือดของหัวใจ
  • เลือดของตับพร่อง  บำรุงเลือดของตับ
  • พลังของม้ามพร่อง และเลือดพร่อง  บำรุงม้ามและเลือด

 

ทำไมจึงต้องบำรุงพลัง(ชี่) พร้อมกับบำรุงเลือด 

ในทัศนะการแพทย์จีน กระบวนการสร้างของพลัง(ชี่)และเลือดภายในร่างกาย จะต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ถ้าพลัง(ชี่)เพียงพอ เลือดก็จะถูกสร้างขึ้น และไหลเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในทางกลับกัน พลัง(ชี่) ก็ต้องอาศัยเลือดไปหล่อเลี้ยงและให้ความชุ่มชื้น ถ้าเลือดพร่องลง ชี่ก็จะไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้พลัง(ชี่)และเลือดพร่องซึ่งมักเกิดขึ้นร่วมกัน การรักษากลุ่มอาการพลัง(ชี่)พร่อง หรือเลือดพร่องนั้น จึงจำเป็นต้องใช้ยาบำรุงทั้งพลัง(ชี่) และเลือดควบคู่กัน

 

 โภชนาการบำบัด

เราสามารถบำรุงเลือดจากโภชนาการได้ ดังตัวอย่าง ตำรับอาหารเครื่องยาจีน ที่ช่วยบำรุงเลือด 

 

สมุนไพรบำรุงเลือด

สมุนไพรที่มีฤทธิ์บำรุงเลือดมีหลายชนิด ที่มักใช้บ่อย เช่น

 


  • ตำรับบำรุงม้าม บำรุงเลือด ช่วยแก้ไขการนอนไม่หลับจากม้ามไม่ปกติ เลือดของหัวใจพร่อง
    • Blood.png
      บำรุงเลือด♦ บำรุงพลัง (ชี่) ⇔ ในทางการแพทย์แผนจีน การบำรุงเลือด มักจะทำไปพร้อมๆกับการบำรุ...
Visitors: 298,978