กลุ่มยาขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร

 

ยาขมิ้นชัน
ยาขิง

 

 


ยาขมิ้นชัน

ยาแคปซูล ยาเม็ด ยาแคปซูล (รพ.) ยาเม็ด (รพ.)

ตัวยาสำคัญ:
ผงเหง้าขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) มีสารสำคัญ curcuminoids ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก (w/w) และน้ำมันระเหยง่ายไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก (v/w)

รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
บรรเทาอาการแน่นจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ขนาดและวิธีใช้:
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม - 1 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน

ข้อห้ามใช้:
ห้ามใช้ในผู้ที่ท่อน้ำดีอุดตัน หรือผู้ที่ไวต่อยานี้

ข้อควรระวัง:
- ควรระวังการใช้กับผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
- ควรระวังการใช้กับหญิงตั้งครรภ์ ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
- ควรระวังการใช้กับเด็ก เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิผลและความปลอดภัย
- ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
- ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่กระบวนการเมแทบอลิซึม ผ่านเอนไซม์ Cytochrome P450 (CYP 450) เนื่องจากสาร curcumin ยับยั้ง CYP 3A4, CYP 1A2 แต่กระตุ้นเอนไซม์ CYP 2A6
- ควรระวังการใช้ร่วมกับยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด เช่น doxorubicin, chlormethine, cyclophosphamide และ camptothecin เนื่องจาก curcumin อาจมีผลต้านฤทธิ์ยาดังกล่าว

อาการไม่พึงประสงค์:
ผิวหนังอักเสบจากการแพ้

 

 


ยาขิง

ยาแคปซูล ยาชง ยาแคปซูล (รพ.) ยาผง (รพ.) ยาชง (รพ.)

ตัวยาสำคัญ:
ผงเหง้าขิง (Zingiber officinale Rosc.) ที่มีน้ำมันหอมระเหย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก (v/w)

รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
1. บรรเทาอาการท้องอืด ขับลม แน่นจุกเสียด
2. ป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน จากการเมารถ เมาเรือ
3. ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน หลังการผ่าตัด

ขนาดและวิธีใช้:
- บรรเทาอาการท้องอืด ขับลม แน่นจุกเสียด รับประทานวันละ 2 – 4 กรัม
- ป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการเมารถ เมาเรือ รับประทานวันละ 1 – 2 กรัม ก่อนเดินทาง 30 นาที – 1 ชั่วโมง หรือเมื่อมีอาการ
- ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน หลังการผ่าตัด รับประทานครั้งละ 1 กรัม ก่อนการผ่าตัด 1 ชั่วโมง

ข้อควรระวัง:
- ควรระวังการใช้ร่วมกับสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
- ไม่แนะนำให้รับประทานในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ

อาการไม่พึงประสงค์:
อาการแสบร้อนบริเวณทางเดินอาหาร อาการระคายเคืองบริเวณปากและคอ


  • ยาชุมเห็ดเทศ ยามะขามแขก ยาชุมเห็ดเทศ ยาแคปซูล ยาชง ยาแคปซูล (รพ.) ยาชง (รพ.) ตัวยาสำคัญ:ผงใบชุมเห็ดเทศ [Senna alata (L.) Roxb., Cassia alata L. (ชื่อพ้อง)] ที่มีสารสำคัญ hydro...

  • ยากล้วย ฟ้าทะลายโจร ยากล้วย ยาผง (รพ.) ตัวยาสำคัญ:ผงกล้วยน้ำว้าชนิดแก่จัด [Musa sp.(ABB group) "Klui Nam Wa"] หรือกล้วยหักมุกชนิดแก่จัด [Musa sp. (ABB group ) “triploid...

  • ยาขิง ยาแคปซูล ยาชง ยาแคปซูล (รพ.) ยาผง (รพ.) ยาชง (รพ.) ตัวยาสำคัญ:ผงเหง้าขิง (Zingiber officinale Rosc.) ที่มีน้ำมันหอมระเหย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก (v/w) รูปแบบ...

  • ยากล้วย ยาผง (รพ.) ตัวยาสำคัญ:ผงกล้วยน้ำว้าชนิดแก่จัด [Musa sp.(ABB group) "Klui Nam Wa"] หรือกล้วยหักมุกชนิดแก่จัด [Musa sp. (ABB group ) “triploid” cv.] รูปแบบ/ความแรง: ข้อบ่งใ...
Visitors: 300,178