ยาดองเหล้า
ยาดองเหล้า คือการแช่สมุนไพรในเหล้า เพื่อสกัดสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรให้ออกมาอยู่ในเหล้า
คุณสมบัติของเหล้า
ตามหลักการแพทย์แผนจีน เหล้ามีรสเผ็ด ฤทธิ์ร้อน ออกฤทธิ์ตามเส้นลมปราณของ ม้าม, กระเพาะอาหาร และตับ กลไกการออกฤทธิ์คือ ขับความเย็น-ชื้น, เพิ่มหยาง ลดหยิน ความสามาถหนึ่งของเหล้าคือ เดินเร็ว ซึมลึก สามารถเข้าสู่เส้นลมปราณได้ภายใน 5 นาที
ในยาดองเหล้า เหล้าไม่ใช่เพียงแค่ตัวทำละลาย เหมือนกับน้ำที่นำพายาเข้าสู่ร่างกาย เหล้ายังทำหน้าที่อื่นอีก คือ
1. สกัดสารออกฤทธิ์ออกจากสมุนไพร แอลกอฮอล์ในเหล้าช่วยสกัดสารออกฤทธิ์ แบบเดียวกับที่เราต้มสมุนไพรเพื่อสกัดเอาฤทธิ์ยาให้อยู่ในน้ำมาดื่ม แต่แอลกอฮอล์สามารถสกัดสารออกฤทธิ์ได้ดีกว่าน้ำ โดยเฉพาะสารในกลุ่มน้ำมันหอมระเหยที่น้ำสกัดได้ยาก
2. นำพาฤทธิ์ยาเข้าสู่ร่างกาย เหล้ามีพลังการกระจายตัวและเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว คุณสมบัตินี้ของเหล้า จะช่วยเปิดทางเส้นลมปราณ กระตุ้นการไหลเวียน และผลักดันยา ช่วยให้ฤทธิ์ยาออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว และช่วยนำสารออกฤทธิ์ให้ไปถึงที่หมาย เช่น
เหล้านอกจากจะสกัดสาร Carthamin ในสมุนไพรเช่น Hong Hua ได้ดีกว่าน้ำแล้ว สาร Carthamin ที่มีฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ขับเลือดคั่ง เมื่อมีเหล้าเป็นตัวพา สาร Carthamin สามารถซึมเข้ากระแสเลือดใน 5 นาที ซึ่งเร็วกว่ายาต้มมาก
เหล้ายังช่วยนำพายาให้ซึมลึกถึงข้อต่อทั่วร่างกาย ผ่านเส้นลมปราณต่างๆ
3. เสริมฤทธิ์ยา เป็นการอาศัยคุณสมบัติของเหล้า ผสานกับสมุนไพร เพื่อขจัดสภาวะของความไม่สมดุล อันเป็นสาเหตุของโรค หรืออาการที่ไม่สบายนั้น
- ในตำรับขับลม-ชื้น แก้ปวดข้อ บทบาทของเหล้าในการเสริมฤทธิตำรับ คือการทำลายความชื้น
- ในตำรับกระตุ้นเลือดและพลัง เหล้าจะช่วยในการสูบฉีดโลหิตให้แผ่ซ่าน
- ในตำรับบำรุงหยาง เหล้าจะช่วยขยายพลังของยาในตำรับ
- ในตำแก้ปวดเมื่อใช้ภายนอก เหล้าจะเป็นเหมือพาหนะในการนำพายาไปให้ถึงเป้าหมาย
ความสามารถในการเสริมฤทธิ์ยาของเหล้านี้ ไม่ใช่จะทำได้กับสมุนไพรทั้งหมด มีตำรับยาบางประเภทเท่านั้นที่สามารถอาศัยเหล้าเป็นตัวเสริมฤทธิ์ยา เช่น ตำรับเพื่อขับลม-ชื้น, ตำรับเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและพลัง, ตำรับเพื่อบำรุงหยาง เป็นต้น
ในขณะที่ตำรับบางอย่างกลับจะให้ผลตรงกันข้าม เช่น ตำรับบำรุงหยิน เพราะเหล้ามีคุณสมบัติเสริมหยางแต่ทำลายหยิน หากใช้เหล้ากับตำรับบำรุงหยิน กลับจะให้ผลในทางตรงกันข้าม
ข้อเสียอื่นของยาดองเหล้า
อย่างที่ทราบกันอยู่แล้ว เหล้าไม่เเพียงแต่ทำร้ายตับ แต่ยังระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารอีกด้วย แม้ว่าจะเป็นยาดองเหล้า แต่แอลกอฮอล์ในเหล้าก็ยังให้ผลเสียเหล่านี้แก่ร่างกายอยู่ดี
วิธีทำยาดองเหล้า
- ควรทำสมุนไพรให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้สกัดฤทธิ์ยาออกได้ง่าย
- เหล้าที่ใช้ ควรใช้ 40-60 ดีกรี หากเป็นตำรับเพื่อการบำรุง เหมาะที่จะใช้ ขนาด 40 ดีกรี แต่ถ้าเป็นตำรับขับพิษ ต่างๆ ให้ใช้เหล้าดีกรีที่สูงขึ้น เช่น เหล้า 55-60 ดีกรี ที่สกัดได้แรงกว่า
- ระยะเวลาการแช่ ขึ้นอยู่กับสมุนไพรที่ใช้ หากเป็นสมุนไพรที่เป็น ใบ ดอก ใช้เวลาน้อย สัก 7-15 วันก็สามารถสกัดได้ แต่หากเป็นสมุนไพรที่เป็น กิ่ง, ก้าน, ราก อาจต้องใช้เวลา 15-30 วัน แต่ทั้งหมดนี้ ไม่ควรแช่นานเกินกว่า 90 วัน เพราะจะได้สารแทนนินที่ระคายเคืองกระเพาะอาหารมากเกินไป
- ภาชนะที่ใช้ ควรใช้ภาชนะประเภทแก้ว หรือเซรามิก ที่มีฝาปิดสนิทในการแช่สมุนไพร
- สถานที่เก็บวาง ควรอยู่ในที่ไม่ไดนแดดส่องโดยตรง
วิธีใช้ยาดองเหล้า
- ชนิดดื่ม ให้ดื่มหลังอาหาร ไม่เกินวันละ 15-30 มล. และไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 1 เดือน
- ชนิดใช้ภายนอก ให้ทา/นวด วันละ 2-3 ครั้ง ในบริเวณที่มีอาการ
เหล้าแม้ว่าจะมีฤทธิ์แรง แต่ก็มีโทษมหันต์หากใช้ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่ทุกความไม่สมดุล หรือทุกอาการที่จะใช้ยาดองเหล้าได้ รูปแบบความไม่สมดุลที่เหมาะกับตำรับยาดองเหล้า เช่น
- โรคจากความเย็น-ชื้น
- เลือดติดขัด
- พร่องหยาง