ยาแก้ไข้ แก้ร้อนใน

บัญชียาหลักแห่งชาติ ด้านสมุนไพร

ยาบัวบก
ยามะระขี้นก
ยารางจืด
ยาหญ้าปักกิ่ง

 


ยาบัวบก

ยาแคปซูล (รพ.) ยาชง(รพ.)

ตัวยาสำคัญ:
ผงจากส่วนเหนือดินของบัวบก [Centella asiatica (L.) Urb.]

รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
แก้ไข้ แก้ร้อนใน ช้ำใน

ขนาดและวิธีใช้:
ชนิดชง
รับประทานครั้งละ 2 - 4 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 120 - 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
ชนิดแคปซูล
รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

ข้อห้ามใช้:
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้สมุนไพรวงศ์ Apiaceae (Umbelliferae)

ข้อควรระวัง:
- ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกเนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
- หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์
- หลีกเลี่ยงการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้ในผู้ป่วยบางราย
- ควระวังการใช้ร่วมกับยาที่มีผลต่อตับ ยาขับปัสสาวะ และยาที่มีผลข้างเคียงทำให้ ง่วงนอน เพราะอาจเสริมฤทธิ์กันได้
- บัวบกอาจเพิ่มระดับน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือด และทำให้ประสิทธิผลของยาลดน้ำตาลและยาลดคอเลสเตอรอลลดลง
- ควรระวังการใช้ร่วมกับยาที่มีกระบวนการเมแทบอลิซึมผ่าน Cytochrome P450 (CYP 450) เนื่องจากบัวบกมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP 2C9 และ CYP 2C19

อาการไม่พึงประสงค์:
ง่วงนอน คลื่นไส้ อาเจียน แสบท้อง มวนท้อง ท้องอืด และปัสสาวะบ่อย

 

 


ยามะระขี้นก

ยาแคปซูล ยาชง ยาเม็ด ยาแคปซูล (รพ.) ยาชง (รพ.)

ตัวยาสำคัญ:
ผงจากเนื้อผลแก่ที่ยังไม่สุกของมะระขี้นก (Momordica charantia L.)

รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
แก้ไข้ แก้ร้อนใน เจริญอาหาร

ขนาดและวิธีใช้:
ชนิดชง
รับประทานครั้งละ 1 – 2 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 120 - 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
ชนิดแคปซูลและชนิดเม็ด
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม - 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ข้อห้ามใช้:
ห้ามใช้ในเด็กหรือหญิงให้นมบุตร เนื่องจากมีรายงานว่าทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมากจนเกิดอาการชักได้

ข้อควรระวัง:
- ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
- หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วันแล้ว อาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
- ควรระวังการใช้ ร่วมกับยาลดน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทาน (Oral Hypoglycemic Agents) อื่น ๆ หรือร่วมกับการฉีดอินสุลิน เพราะอาจทำให้เกิดการเสริมฤทธิ์กันได้
- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ เพราะเคยมีรายงานว่าทำให้การเกิดตับอักเสบได้

อาการไม่พึงประสงค์:
คลื่นไส้ วิงเวียน ชาปลายมือปลายเท้า hypoglycemic coma อาการชักในเด็ก ท้องเดิน ท้องอืด ปวดศีรษะ และอาจเพิ่มระดับเอนไซม์ gamma-glutamyl transferase และ alkaline phosphatase ในเลือดได้

 


ยารางจืด

ยาแคปซูล (รพ.) ยาชง (รพ.)

ตัวยาสำคัญ:
ผงใบรางจืดโตเต็มที่ (Thunbergia laurifolia Lindl.)

รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
ถอนพิษไข้ แก้ร้อนใน

ขนาดและวิธีใช้:
ชนิดชง
รับประทานครั้งละ 2 - 3 กรัม ชงน้ำร้อน 120 - 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร หรือเมื่อมีอาการ
ชนิดแคปซูล
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม - 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ข้อควรระวัง:
- ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
- หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วันแล้ว อาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาอื่นอย่างต่อเนื่องเพราะยารางจืด อาจเร่งการขับยาเหล่านั้นออกจากร่างกาย ทำให้ประสิทธิผลของยาลดลง

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ:
ในทางการแพทย์แผนไทย จะใช้ใบหรือราก ตำและคั้นน้ำซาวข้าว รับประทานแก้พิษผิดสำแดง

 

 

 

ยาหญ้าปักกิ่ง

ยาแคปซูล (รพ.) ยาชง (รพ.)

ตัวยาสำคัญ:
ผงหญ้าปักกิ่ง [Murdannia loriformis (Hassk.) R.S. Rao & Kammathy ]

รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
แก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้น้ำเหลืองเสีย

ขนาดและวิธีใช้:
ชนิดชง
รับประทานครั้งละ 2 – 3 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 120 – 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
ชนิดแคปซูล
รับประทานครั้งละ 400 - 500 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ข้อควรระวัง:
- ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกเนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
- หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ:
ภูมิปัญญาเดิมใช้ทั้งต้น คั้นน้ำแล้วตั้งทิ้งไว้เพื่อให้ตกตะกอน แล้วนำส่วนใสไปรับประทาน

Visitors: 299,776