งานวิจัยเกี่ยวกับ ลูกใต้ใบ

 งานวิจัย เกี่ยวกับลูกใต้ใบ 

 

ฤทธิ์ระงับอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังของลูกใต้ใบ

สารสกัดลูกใต้ใบทุกชนิดและทุกขนาดมีฤทธิ์ยับยั้งอาการปวดกล้ามเนื้อได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยสารสกัดลูกใต้ใบขนาด 200 และ 400 มก./กก. ให้ผลใกล้เคียงกับยาแก้ปวด aceclofenac นอกจากนี้ ยังพบว่าสารสกัดลูกใต้ใบมีผลยับยั้งฮอร์โมน prostaglandin E-2 ในกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดถึงการอักเสบและอาการปวดได้อีกด้วย ผลจากการทดลองแสดงให้เห็นว่าต้นลูกใต้ใบมีฤทธิ์ระงับอาการปวดกล้ามเนื้อแบบเรื้อรังได้


ฤทธิ์ต้านความเจ็บปวดอย่างแรงของสาร Corilagin สาร Tannin ที่แยกได้จากต้นลูกใต้ใบ

สาร Corilagin (β-1-0-galloyl-3,6-(R)-hexahydroxydiphenoyl-D-glucose) เป็นสารTannin ที่แยกได้จากต้นลูกใต้ใบ Corilagin มีฤทธิ์ต้านความเจ็บปวด


ฤทธิ์ปกป้องตับของลูกใต้ใบในหนูขาว

สารสกัดใบของลูกใต้ใบด้วยเมทานอลสามารถป้องกันการถูกทำลายของตับในหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดพิษที่ตับได้

 

การป้องกันรังสีจากลูกใต้ใบ 

สารสกัดจากลูกใต้ใบป้องกันผลจากการฉายรังสีได้ หนูถีบจักรจะมีปริมาณเม็ดเลือดขาวเซลล์ไขกระดูก และการทำงานของ alpha-esterase เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่ไม่ได้รับสารสกัด นอกจากนี้ยังช่วยต้านการเกิดออกซิเดชั่น โดยเพิ่มเอนไซม์ superoxide dismutase, catalase, glutathione-S-transferase, glutathione peroxidase และ glutathione reductase ทั้งในเลือดและเนื้อเยื่อ และลดการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันในซีรัมและตับ


ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและฤทธิ์ลดการอักเสบของลูกใต้ใบ 

ยับยั้งการเกิดแผลซึ่งเหนี่ยวนำโดย absolute ethanol พบว่าอัตราการตายลดลง น้ำหนักกระเพาะเพิ่ม การเกิดแผลและเลือดออกในกระเพาะลดลง โดยกระบวนการออกฤทธิ์เกิดจากไปยับยั้ง glutathione ของเนื้อเยื่อบุกระเพาะ ทั้งสารสกัดด้วยน้ำและเมทานอลยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอาจเกิดจาก tannin


ผลการต้านการเปลี่ยนแปลงของยีนและต้านการเกิดมะเร็งของลูกใต้ใบ 

ลูกใต้ใบมีคุณสมบัติต้านการเปลี่ยนแปลงของยีนและต้านการเกิดมะเร็ง

 

สารสกัดลูกใต้ใบยืดอายุหนูที่เป็นมะเร็งตับ

สารสกัดลูกใต้ใบสามารถยืดอายุสัตว์ทดลองที่เป็นมะเร็งตับโดยมีอายุเฉลี่ย 52.2 + 2.3 สัปดาห์ ในขณะที่สัตว์ทดลองกลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดมีอายุเฉลี่ย 33.7 + 1.6 สัปดาห์ สารสกัดลูกใต้ใบยังมีผลลดค่าทางชีวเคมีอื่นๆ เช่น ลดระดับเอนไซม์แกมม่า-กลูตามิล ทรานสเปปทิเดส ( gamma-glutamyl transpeptidase) ในซีรัม ลดระดับเอนไซม์กลูตาไธโอน เอส-ทรานสเฟอรเรส ( glutathione S-transferase) และลดระดับสารกลูตาไทโอน (glutathione) ในเนื้อเยื่อตับ

 

(ที่มา : ย่อยข่าวงานวิจัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)

Visitors: 299,784