รสในปากบอกโรค
คำถามหนึ่งที่แพทย์แผนจีนมักใช้ในวินิจฉัย และรักษาผู้ป่วย คือคำถามเกี่ยวกับรสชาติในปากที่มักเกิดขึ้น “ปากของคุณมีรสแปลกหรือผิดปกติหรือไม่”
คำตอบมีตั้งแต่รสขม หวาน เปรี้ยว เค็ม หรือเผ็ด จากมุมมองของแพทย์แผนจีน บ่งบอกถึงความไม่สมดุลภายในร่างกาย ความไม่สมดุลเหล่านี้อาจมาจากสภาวะอาหาร อารมณ์ จิตใจ ร่างกาย สิ่งแวดล้อม หรือโครงสร้างพื้นฐานร่างกาย เป็นเงื่อนไขที่มาจากพันธุกรรม
รสขม
มาจากความร้อนของตับ ไฟตับ หรือความร้อนส่วนเกินจากหัวใจ
ความร้อนและไฟของตับอาจมาจากความเครียด ความวิตกกังวล ความโกรธ จากอาหารไขมัน เลี่ยน อาหารทอด และการบริโภคแอลกอฮอล์หรือสารพิษ
หัวใจร้อนมักเกิดจากปัจจัยทางอารมณ์ เช่น ความวิตกกังวลเรื้อรัง ความกังวลอย่างต่อเนื่อง และภาวะซึมเศร้า
รสหวาน
บอกความผิดปกติของระบบการย่อยอาหาร ที่เกิดกับม้ามและกระเพาะอาหาร ในลักษณะ ม้ามพร่องหรือความร้อนชื้น
1. ภาวะพร่องของม้าม เป็นการพร่องของพลังหรือหยิน ของ ม้ามหรือกระเพาะอาหาร อาจมาจากปัจจัยทางจิตใจและอาหาร ได้แก่ การคิดมากเป็นเวลานานๆ การสัมผัสกับสภาพอากาศที่ชื้นเป็นเวลานาน การเจ็บป่วยเรื้อรัง การรับประทานมากเกินไป รวมถึงการบริโภคอาหารดิบที่เย็นจัดมากเกินไป ซึ่งนำไปสู่การย่อยอาหารไม่ดี
2.ภาวะร้อนชื้นของม้าม เกิดจากสาเหตุทั้งภายในและภายนอก ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นจาก
- ปัจจัยก่อโรคภายนอก เช่น ผลกระทบตามฤดูกาล
- การเลือกรับประทานอาหาร เช่น อาหารทอด อาหารที่มีไขมัน
- และจากการทำงานที่มากเกินไป หรือแม้แต่อารมณ์แปรปรวน เช่น ความโกรธและอารมณ์ที่เก็บสะสมไว้เป็นเวลานาน โดยเฉพาะความหึงหวง
อาการแสดงออก คือ รู้สึกรสหวาน คอแห้ง กระหายน้ำ กินมากหิวเร็ว มีแผลในปากและลิ้น อุจจาระก็อนแข็งแห้ง ตัว ลิ้นแดงแห้ง
รสเปรี้ยว
เกิดจากความร้อนของตับและถุงน้ำดีไปกระทบกระเพาะอาหาร
มักมาจากอาหารที่คั่งสะสมในกระเพาะอาหาร หรือตับที่ส่งอิทธิพลรุกรานกระเพาะอาหาร
เกิดจากการย่อยอาหารที่ไม่ดี ซึ่งมาจากการกินมากเกินไป การกินเร็วเกินไป การรับประทานอาหารที่ไม่ดี และความเครียด
มักมีอาการอึดอัด แน่นหน้าอก และสีข้าง คลื่นไส้ หลังกินอาหารจะอึดอัดแน่นท้อง
รสเค็ม
มักเกิดจากภาวะไตบกพร่อง
ภาวะไตพร่องมักมากับอายุ นอกจากนี้ยังอาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยเรื้อรัง การทำงานมากเกินไปเป็นเวลานาน หรือภาวะขาดน้ำ ท่ามกลางปัจจัยอื่นๆ
- หากมีอาการเอวหรือเข่าอ่อนล้า เวียนศีรษะ มีเสียงในหู รู้สึกร้อนบริเวณฝ่ามือ เหงื่อออกกลางคืน ฝันเปียก เป็นภาวะหยินของไตพร่อง
- หากมีอาการหนาวง่าย มือเท้าเย็น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เฉื่อยชา ปัสสาวะบ่อยและมาก มีภาวะกามตายด้าน แสดงถึงหยางของไตไม่พอ เป็นภาวะหยางของไตพร่อง
รสเผ็ดร้อน
มาจากปอดร้อน ความร้อนในปอดอาจเกิดขึ้นจากอิทธิพลของปัจจัยก่อโรค เช่น การตกตะกอนในปอดทำให้เกิดความร้อน หลอดลมอักเสบ และปอดบวม
นี่เป็นจุดสังเกตในการดูแลสุขภาพของตัวเองและคนรอบข้างอย่างง่าย
-
การแพทย์แผนจีน มองว่าร่างกายและจิตใจมีความเชื่อมโยงกันและได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ แพทย์แผนจีนมีแนวทางด้านสุขภาพการเจริญพันธุ์แบบองค์รวม การเจริญพันธุ์ก็เช่นกัน ได้รับ...
-
การครอบแก้ว (Cupping Therapy) เป็นศาสตร์การรักษาเก่าแก่ของแพทย์แผนจีน โดยใช้ความร้อนสร้างสภาวะสุญญากาศในแก้ว ครอบลงบนผิวหนัง ทำให้เกิดแรงดูดบนผิวจนผิวส่วนนั้นตึงนูนขึ้น ส่งผลให้เกิ...
-
เทคนิคที่ผู้เชี่ยวชาญมักใช้ในการครอบแก้ว มี 12 เทคนิคใหญ่ ดังนี้ ● การครอบแก้วแบบเบา ● ครอบแก้วปานกลาง ● การครอบแก้วแบบแรง ● ครอบแก้วแบบเคลื่อนที่ ● การครอบแก้วเบาแบบเคลื่อนที่ ● ...
-
โครงสร้างร่างกายของแต่ละคนได้รับอิทธิพลจากปัจจัยที่มีมา แต่กำเนิดและสิ่งที่ได้มาในภายหลัง ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล กล่าวอีกนัยหนึ่งกระบวนการเมตาบอลิซึมของการทำงานของอวัยวะและโค...
-
การต้มยาจีน ใช้หม้อดิน หม้อเคลือบ หรือหม้อสแตนเลส อย่าลืมแกะสมุนไพรที่ใส่ในถุงพลาสติต ส่วนถุงผ้าไม่ต้องแกะถุง ใส่ลงไปต้มทั้งถุงผ้าได้เลย ล้างน้ำคร่าวๆ 1 รอบ (ถ้ามียาผง หรือถุงผ้า ...
-
ในการแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพรตามหลักการแพทย์แผนจีน เส้นลมปราณหยินทั้งสาม (ตับ, ม้าม, ไต) เริ่มจากเท้า และความเย็นจากภายนอก รุกรานจากฝ่าเท้า การแช่เท้าก่อนนอนจะช่วยอบอุ่นเส้นลมปราณหยิน...
-
หลายคนต้มน้ำเก๊กฮวยแล้วมีรสขม เคล็ดลับง่ายๆอยู่ที่อย่าต้มนาน สารสำคัญในเก๊กฮวยเป็นน้ำมันหอมระเหยง่าย การต้มเป็นเวลานานนอกจากจะทำให้มีรสขมแล้ว ยังทำให้น้ำมันหอมระเหยง่ายนี้สูญเสียไป...
-
การแช่เท้า 泡脚 มีประวัติความเป็นมายาวนานหลายพันปีในวัฒนธรรมชาวจีนการแช่เท้าเป็นกุญแจสำคัญในการถนอมสุขภาพ สามารถขจัดของเสียจากเลือด ทำความสะอาดร่างกายมนุษย์ เสริมภูมิต้านทานโรคต่างๆก...