กลุ่มยาขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

ยาธาตุบรรจบ

ยาแคปซูล ยาผง ยาลูกกลอน ยาแคปซูล (รพ.) ยาผง (รพ.) ยาลูกกลอน (รพ.)

สูตรตำรับ:
ในผงยา 104 กรัม ประกอบด้วย
1. เนื้อลูกสมอไทย หนัก 16 กรัม
2. โกฐก้านพร้าว หนัก 8 กรัม
3. เหง้าขิง โกฐเขมา โกฐพุงปลา โกฐเชียง โกฐสอ เทียนดำ เทียนขาว เทียนสัตตบุษย์ เทียนเยาวพาณี เทียนแดง ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ดอกกานพลู เปลือกสมุลแว้ง ลูกกระวาน ลูกผักชีลา ใบพิมเสนต้น ดอกดีปลี หัวเปราะหอม การบูร หนักสิ่งละ 4 กรัม

ตัวยาสำคัญ:
รูปแบบ/ความแรง:
ข้อบ่งใช้:
บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

ขนาดและวิธีใช้:
ชนิดผง
ผู้ใหญ่
รับประทานครั้งละ 1 กรัม ละลายน้ำกระสายยา วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ
เด็ก อายุ 6 - 12 ปี
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม ละลายน้ำกระสายยา วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ
น้ำกระสายยาที่ใช้
• กรณีแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ใช้กระเทียม 3 กลีบ ทุบชงน้ำร้อนหรือใช้ใบกะเพราต้มเป็นน้ำกระสายยา
• ถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ให้ใช้น้ำสุกแทน
ชนิดลูกกลอนและชนิดแคปซูล
ผู้ใหญ่
รับประทานครั้งละ 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ
เด็ก อายุ 6 - 12 ปี
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ

ข้อห้ามใช้:
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้

ข้อควรระวัง:
- ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
- ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูรและเกิดพิษได้

อาการไม่พึงประสงค์:
ในสูตรตำรับได้ตัดไคร้เครือออก เนื่องจากมีข้อมูลงานวิจัยบ่งชี้ว่าไคร้เครือที่ใช้และมีการจำหน่ายในท้องตลาด เป็นพืชในสกุล Aristolochia ซึ่งพืชในสกุล Aristolochia มีรายงานพบว่าก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อไต (nephrotoxicity) และเมื่อปี ค.ศ. 2002 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้พืชสกุล Aristolochia เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์

 

 

ยาธาตุอบเชย

ยาน้ำ (รพ.)

สูตรตำรับ:
ในยาน้ำ 100 มิลลิลิตร ประกอบด้วย
1. เปลือกอบเชยเทศ เปลือกสมุลแว้ง ลูกกระวาน ดอกกานพลู รากชะเอมเทศ หนักสิ่งละ 800 มิลลิกรัม
2. เกล็ดสะระแหน่ การบูร หนักสิ่งละ 50 มิลลิกรัม

ตัวยาสำคัญ:
รูปแบบ/ความแรง:
ข้อบ่งใช้:
ขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

ขนาดและวิธีใช้:
รับประทานครั้งละ 15 - 30 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

ข้อควรระวัง:
ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูรและเกิดพิษได้

 

 

 

ยาเบญจกูล

ยาแคปซูล ยาผง ยาเม็ด ยาลูกกลอน ยาแคปซูล (รพ.) ยาชง (รพ.) ยาเม็ด (รพ.)

สูตรตำรับ:
ในผงยา 100 กรัม ประกอบด้วย
ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิงแดง เหง้าขิงแห้ง หนักสิ่งละ 20 กรัม

ตัวยาสำคัญ:
รูปแบบ/ความแรง:
ข้อบ่งใช้:
บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

ขนาดและวิธีใช้:
ชนิดชง
รับประทานครั้งละ 1.5 – 2 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
ชนิดผง
รับประทานครั้งละ 800 มิลลิกรัม – 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
ชนิดแคปซูล ชนิดเม็ด และชนิดลูกกลอน
รับประทานครั้งละ 800 มิลลิกรัม – 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

ข้อห้ามใช้:
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีไข้ และเด็กเล็ก

ข้อควรระวัง:
- ไม่ควรใช้ยานี้ในฤดูร้อน เนื่องจากอาจทำให้ไฟธาตุกำเริบ
- ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกิน 7 วัน

 

 

 

ยาประสะกะเพรา

ยาผง ยาเม็ด ยาแคปซูล (รพ.) ยาผง (รพ.) ยาเม็ด (รพ.)

สูตรตำรับ:
ในผงยา 92 กรัม ประกอบด้วย
1. ใบกะเพราแดง หนัก 47 กรัม
2. ผิวมะกรูด หนัก 20 กรัม
3. รากชะเอมเทศ มหาหิงคุ์ หนักสิ่งละ 8 กรัม
4. พริกไทยล่อน เหง้าขิง ดอกดีปลี หัวกระเทียม หนักสิ่งละ 2 กรัม
5. เกลือสินเธาว์ หนัก 1 กรัม

ตัวยาสำคัญ:
รูปแบบ/ความแรง:
ข้อบ่งใช้:
บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด

ขนาดและวิธีใช้:
ชนิดผงและชนิดเม็ด (แบบอัดเปียก)
เด็ก
อายุ 1 – 3 เดือน รับประทานครั้งละ 100 – 200 มิลลิกรัม
อายุ 4 – 6 เดือน รับประทานครั้งละ 200 – 300 มิลลิกรัม
อายุ 7 – 12 เดือน รับประทานครั้งละ 400 – 600 มิลลิกรัม
โดยนำยาละลายน้ำกระสายยา (ทิ้งไว้ให้ตกตะกอน แล้วใช้หลอดหยดดูดส่วนน้ำใส) รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เมื่อมีอาการ
น้ำกระสายยาที่ใช้
• กรณีแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ใช้น้ำสุก หรือน้ำใบกะเพราต้ม
• กรณีแก้จุกเสียด ใช้ไพลเผาไฟพอสุก ฝนกับน้ำสุก
ชนิดแคปซูลและชนิดเม็ด
เด็ก อายุ 6 - 12 ปี
รับประทานครั้งละ 1 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เมื่อมีอาการ

ข้อห้ามใช้:
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้

 

 

 

ยาประสะกานพลู

ยาแคปซูล ยาผง ยาเม็ด ยาผง (รพ.)

สูตรตำรับ:
ในผงยา 250 กรัม ประกอบด้วย
1. ดอกกานพลู หนัก 125 กรัม
2. เปลือกซิก หนัก 10 กรัม เหง้าขมิ้นชัน หนัก 8 กรัม เปลือกเพกา เปลือกขี้อ้าย หนักสิ่งละ 4 กรัม
3. เหง้าขิงแห้ง ดอกดีปลี หนักสิ่งละ 3 กรัม เหง้าไพล รากเจตมูลเพลิงแดง เถาสะค้าน รากช้าพลู หนักสิ่งละ 2 กรัม พริกไทยล่อน หนักสิ่งละ 1 กรัม เหง้าว่านน้ำ หัวกระชาย การบูร หนักสิ่งละ 4 กรัม
4. รากแฝกหอม หัวเปราะหอม รากกรุงเขมา ใบกระวาน ลูกกระวาน ลูกผักชีลา หนักสิ่งละ 4 กรัม เนื้อไม้ ลูกจันทน์ หนักสิ่งละ 8 กรัม
5. เทียนดำ เทียนขาว โกศสอ โกฐกระดูก หนักสิ่งละ 4 กรัม
6. รากข้าวสาร หนัก 8 กรัม รากแจง หนัก 4 กรัม
7. กำมะถันเหลือง หนัก 4 กรัม

ตัวยาสำคัญ:
รูปแบบ/ความแรง:
ข้อบ่งใช้:
บรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ

ขนาดและวิธีใช้:
ชนิดผง
รับประทานครั้งละ 1 กรัม ละลายน้ำกระสายยา วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร เมื่อมีอาการ
น้ำกระสายยาที่ใช้
• ใช้ไพลเผาไฟพอสุกฝนกับน้ำปูนใสเป็นน้ำกระสาย
• ถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ให้ใช้น้ำสุกแทน
ชนิดแคปซูลและชนิดเม็ด
รับประทานครั้งละ 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร เมื่อมีอาการ

ข้อห้ามใช้:
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้

ข้อควรระวัง:
ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูรและเกิดพิษได้

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ:
ในสูตรตำรับได้ตัดไคร้เครือออก เนื่องจากมีข้อมูลงานวิจัยบ่งชี้ว่าไคร้เครือที่ใช้และมีการจำหน่ายในท้องตลาด เป็นพืชในสกุล Aristolochia ซึ่งพืชในสกุล Aristolochia มีรายงานพบว่าก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อไต (nephrotoxicity) และเมื่อปี ค.ศ. 2002 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้พืชสกุล Aristolochia เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์

 

 

 

ยาประสะเจตพังคี

ยาแคปซูล ยาผง ยาแคปซูล (รพ.) ยาผง (รพ.) ยาเม็ด (รพ.)

สูตรตำรับ:
ในผงยา 66 กรัม ประกอบด้วย
1. รากเจตพังคี หนัก 33 กรัม
2. เหง้าข่า หนัก 16 กรัม
3. รากระย่อม พริกไทยล่อน เถาบอระเพ็ด หนักสิ่งละ 2 กรัม
4. ดอกจันทน์ ลูกจันทน์ ลูกกระวาน ใบกระวาน ดอกกานพลู รากกรุงเขมา เนื้อลูกสมอทะเล รากพญารากขาว เปลือกต้นหว้า เกลือสินเธาว์ การบูร หนักสิ่งละ 1 กรัม

ตัวยาสำคัญ:
รูปแบบ/ความแรง:
ข้อบ่งใช้:
แก้กษัยจุกเสียด ขับผายลม

ขนาดและวิธีใช้:
ชนิดผง
รับประทานครั้งละ 1 กรัม ละลายน้ำสุก วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร
ชนิดแคปซูลและชนิดเม็ด
รับประทานครั้งละ 1 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร

ข้อห้ามใช้:
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้

ข้อควรระวัง:
ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูรและเกิดพิษได้

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ:
ในสูตรตำรับได้ตัดไคร้เครือออก เนื่องจากมีข้อมูลงานวิจัยบ่งชี้ว่าไคร้เครือที่ใช้และมีการจำหน่ายในท้องตลาด เป็นพืชในสกุล Aristolochia ซึ่งพืชในสกุล Aristolochia มีรายงานพบว่าก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อไต (nephrotoxicity) และเมื่อปี ค.ศ. 2002 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้พืชสกุล Aristolochia เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์

 

 

 

ยามันทธาตุ

ยาผง ยาเม็ด ยาแคปซูล (รพ.) ยาผง (รพ.) ยาเม็ด (รพ.)


สูตรตำรับ:
ในผงยา 93 กรัม ประกอบด้วย
1. เหง้าขิง ลูกเบญกานี หนักสิ่งละ 9 กรัม
2. โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน ลูกผักชีล้อม ลูกผักชีลา หัวกระเทียม เปลือกสมุลแว้ง เปลือกโมกมัน แก่นจันทน์แดง แก่นจันทน์เทศ ดอกกานพลู ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิงแดง พริกไทยล่อน ลูกจันทน์ การบูร หนักสิ่งละ 3 กรัม

ตัวยาสำคัญ:
รูปแบบ/ความแรง:
ข้อบ่งใช้:
บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ธาตุไม่ปกติ

ขนาดและวิธีใช้:
ชนิดผง
ผู้ใหญ่
รับประทานครั้งละ 1 กรัม
เด็ก อายุ 6 - 12 ปี
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม ละลายน้ำสุก วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
ชนิดแคปซูลและชนิดเม็ด
ผู้ใหญ่
รับประทานครั้งละ 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
เด็ก อายุ 6 - 12 ปี
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ข้อห้ามใช้:
- ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ เนื่องจากเป็นยารสร้อน ทำให้ลิ้น ปากแสบร้อนได้
- ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้

ข้อควรระวัง:
- ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
- ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูรและเกิดพิษได้

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ:
ในสูตรตำรับได้ตัดไคร้เครือออก เนื่องจากมีข้อมูลงานวิจัยบ่งชี้ว่าไคร้เครือที่ใช้และมีการจำหน่ายในท้องตลาด เป็นพืชในสกุล Aristolochia ซึ่งพืชในสกุล Aristolochia มีรายงานพบว่าก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อไต (nephrotoxicity) และเมื่อปี ค.ศ. 2002 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้พืชสกุล Aristolochia เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์

 

 

 

ยามหาจักรใหญ่

ยาเม็ด ยาแคปซูล (รพ.) ยาผง (รพ.) ยาเม็ด (รพ.)


สูตรตำรับ:
ในผงยา 114 กรัม ประกอบด้วย
1. ใบกระพังโหม หนัก 60 กรัม
2. ยาดำสะตุ หนัก 8 กรัม
3. โกศสอ โกศเขมา โกศพุงปลา โกศก้านพร้าว โกศกระดูกเทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนเยาวพาณี เนื้อลูกสมอไทย เนื้อลูกสมอพิเภก เนื้อลูกมะขามป้อม ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน ดอกกานพลู รากชะเอมเทศ เมล็ดโหระพา ลูกผักชีลา สารส้มสะตุ เหง้าขมิ้นอ้อย หัวกระเทียม หนักสิ่งละ 2 กรัม

ตัวยาสำคัญ:
รูปแบบ/ความแรง:
ข้อบ่งใช้:
1.แก้ลมซาง
2.บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

ขนาดและวิธีใช้:
1. แก้ลมซาง
ชนิดผงและชนิดเม็ด (แบบอัดเปียก)
เด็ก อายุ 1 – 5 ขวบ รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 1.5 กรัม ละลายน้ำสุก เพิ่มและลดได้ตามส่วน วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร
2. บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
ชนิดผงและชนิดเม็ด (แบบอัดเปียก)
เด็ก อายุ 1 – 5 ขวบ รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 1.5 กรัม ละลายน้ำสุก เพิ่มและลดได้ตามส่วน วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร
ชนิดเม็ดและชนิดแคปซูล
เด็ก อายุ 6 – 12 ปี รับประทานครั้งละ 1.5 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร

ข้อควรระวัง:
- ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
- หากรับประทานแล้วมีอาการท้องเสีย ควรหยุดรับประทานยา

 

 

 

ยาวิสัมพยาใหญ่

ยาผง

สูตรตำรับ:
ในผงยา 108 กรัม ประกอบด้วย
1. ดอกดีปลี หนัก 54 กรัม
2. ลูกผักชีลา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ หนักสิ่งละ 8 กรัม
3. ลูกกระวาน ดอกกานพลู โกศสอ โกศเขมา โกศหัวบัว โกศเชียง โกศจุฬาลัมพา เปลือกอบเชย เปลือกสมุลแว้ง เนื้อลูกสมอเทศ เนื้อลูกสมอไทย เหง้าว่านน้ำ เถาบอระเพ็ด เหง้าขิงแห้ง รากพญารากขาว หนักสิ่งละ 2 กรัม

ตัวยาสำคัญ:
รูปแบบ/ความแรง:
ข้อบ่งใช้:
บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด

ขนาดและวิธีใช้:
รับประทานครั้งละ 1 กรัม ละลายน้ำสุกหรือผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน ทุก 4 ชั่วโมง

ข้อห้ามใช้:
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้

ข้อควรระวัง:
- ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
- ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีดอกดีปลีในปริมาณสูง

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ:
ในสูตรตำรับได้ตัดไคร้เครือออก เนื่องจากมีข้อมูลงานวิจัยบ่งชี้ว่าไคร้เครือที่ใช้และมีการจำหน่ายในท้องตลาด เป็นพืชในสกุล Aristolochia ซึ่งพืชในสกุล Aristolochia มีรายงานพบว่าก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อไต (nephrotoxicity) และเมื่อปี ค.ศ. 2002 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้พืชสกุล Aristolochia เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์

 

 

 

ยาอภัยสาลี

ยาลูกกลอน ยาเม็ด

สูตรตำรับ:
ในผงยา 181 กรัม ประกอบด้วย
1. หัศคุณเทศ หนัก 24 กรัม พริกไทยล่อน แก่นจันทน์เทศ หนักสิ่งละ 16 กรัม รากเจตมูลเพลิงแดง หนัก 12 กรัม
2. หัวบุกรอ หนัก 15 กรัม เนื้อลูกสมอไทย เนื้อลูกสมอเทศ หนักสิ่งละ 13 กรัม
3. เทียนแดง หนัก 11 กรัม เทียนข้าวเปลือก หนัก 10 กรัม เทียนตาตั๊กแตน หนัก 9 กรัม เทียนขาว หนัก 8 กรัม
4. โกฐเขมา หนัก 9 กรัม โกฐสอ หนัก 8 กรัม
5. เหง้าว่านน้ำ หนัก 7 กรัม ดอกกานพลู หนัก 4 กรัม ลูกกระวาน หนัก 3 กรัม ดอกจันทน์ หนัก 2 กรัม ลูกจันทน์ หนัก 1 กรัม
6. ลูกพิลังกาสา หนัก 6 กรัม

ตัวยาสำคัญ:
รูปแบบ/ความแรง:
ข้อบ่งใช้:
บำบัดโรคลม บรรเทาอาการจุกเสียดแน่น

ขนาดและวิธีใช้:
รับประทานครั้งละ 1.5 – 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร

ข้อห้ามใช้:
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้

ข้อควรระวัง:
ควรระวังในการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)

 


  • ยาถ่ายดีเกลือฝรั่ง ยาแคปซูล ยาเม็ด สูตรตำรับ:ในผงยา 117 กรัม ประกอบด้วย1. ดีเกลือฝรั่ง หนัก 60 กรัม ยาดำสะตุ หนัก 12 กรัม2. ใบมะกา ใบมะขาม ใบส้มป่อย เนื้อในฝักคูน รากขี้กาแดง รากขี...

  • ยาธาตุบรรจบ ยาเหลืองปิดสมุทร ยาธาตุบรรจบ ยาแคปซูล ยาผง ยาลูกกลอน ยาแคปซูล (รพ.) ยาผง (รพ.) ยาลูกกลอน (รพ.) สูตรตำรับ:ในผงยา 104 กรัม ประกอบด้วย1. เนื้อลูกสมอไทย หนัก 16 กรัม2. โก...

  • ยาผสมเพชรสังฆาต ยาริดสีดวงมหากาฬ ยาผสมเพชรสังฆาต ยาแคปซูล ยาแคปซูล (รพ.) สูตรตำรับ:สูตรที่ 1 ในผงยา 100 กรัม ประกอบด้วยเถาเพชรสังฆาต หนัก 70 กรัม รากอัคคีทวาร หนัก 20 กรัม โกฐ...
Visitors: 300,758