ยาแก้ไข้

บัญชียาหลักแห่งชาติ ด้านสมุนไพร

  • ยาเขียวหอม
  • ยาจันทน์ลีลา
  • ยาประสะจันทน์แดง
  • ยาประสะเปราะใหญ่
  • ยามหานิลแท่งทอง
  • ยาห้าราก

 

ยาเขียวหอม

ยาผง ยาเม็ด (รพ.) ยาผง (รพ.)

สูตรตำรับ:

ในผงยา 90 กรัม ประกอบด้วย
ใบพิมเสน ใบผักกระโฉม ใบหมากผู้ ใบหมากเมีย ใบสันพร้าหอม รากแฝกหอม หัวเปราะหอม แก่นจันทน์ขาวหรือจันทร์ชะมด แก่นจันทน์แดง ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง เนระพูสี พิษนาศน์ มหาสดำ ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภี เกสรบัวหลวง หนักสิ่งละ 5 กรัม

ตัวยาสำคัญ:
รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
1. บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ
2. แก้พิษหัด พิษอีสุกอีใส (บรรเทาอาการไข้จากหัดและอีสุกอีใส)

ขนาดและวิธีใช้:
ชนิดผง
ผู้ใหญ่
รับประทานครั้งละ 1 กรัม ละลายน้ำกระสายยา ทุก 4 – 6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
เด็ก อายุ 6 – 12 ปี
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม ละลายน้ำกระสายยา ทุก 4 – 6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
น้ำกระสายยาที่ใช้
• กรณีบรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ ใช้น้ำสุก หรือน้ำดอกมะลิ เป็นน้ำกระสายยา
• กรณีแก้พิษหัด พิษอีสุกอีใส ละลายน้ำรากผักชีต้ม เป็นน้ำกระสายยาทั้งรับประทาน และชโลม
หมายเหตุ การชโลมใช้ยาผงละลายน้ำ 1 ต่อ 3 แล้วชโลม (ประพรม) ทั่วตามตัวบริเวณที่ตุ่มใสยังไม่แตก
ชนิดเม็ด
ผู้ใหญ่
รับประทานครั้งละ 1 กรัม ทุก 4 – 6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
เด็ก อายุ 6 - 12 ปี
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม ทุก 4 – 6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ

ข้อควรระวัง:
- ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสรดอกไม้
- ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
- หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ:
- ทางการแพทย์แผนไทย แนะนำให้ผู้ป่วยหัด อีสุกอีใส ห้ามรับประทานอาหารทะเล ไข่ และน้ำเย็น เนื่องจากผิดสำแดง
- ในสูตรตำรับได้ตัดไคร้เครือออก เนื่องจากมีข้อมูลงานวิจัยบ่งชี้ว่าไคร้เครือที่ใช้และมีการจำหน่ายในท้องตลาด เป็นพืชในสกุล Aristolochia ซึ่งพืชในสกุล Aristolochia มีรายงานพบว่าก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อไต (nephrotoxicity) และเมื่อปี ค.ศ. 2002 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้พืชสกุล Aristolochia เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์

 

 

 

ยาจันทน์ลีลา

ยาแคปซูล ยาผง ยาเม็ด ยาแคปซูล (รพ.) ยาผง (รพ.) ยาเม็ด (รพ.)

สูตรตำรับ:

ในผงยา 99 กรัม ประกอบด้วย
โกฐสอ โกฐเขมา โกฐจุฬาลัมพา แก่นจันทน์ขาวหรือจันทร์ชะมด แก่นจันทน์แดง ลูกกระดอม เถาบอระเพ็ด รากปลาไหลเผือก หนักสิ่งละ 12 กรัม พิมเสน หนัก 3 กรัม

ตัวยาสำคัญ:
รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู

ขนาดและวิธีใช้:
ชนิดผง
ผู้ใหญ่
รับประทานครั้งละ 1 - 2 กรัม ละลายน้ำสุก ทุก 3 - 4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
เด็กอายุ 6 - 12 ปี
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 1 กรัม ละลายน้ำสุก ทุก 3 - 4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
ชนิดแคปซูลและชนิดเม็ด
ผู้ใหญ่
รับประทานครั้งละ 1 - 2 กรัม ทุก 3 - 4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
เด็ก อายุ 6 - 12 ปี
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 1 กรัม ทุก 3 - 4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ

ข้อควรระวัง:
- ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
- หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ:
แนะนำให้ใช้ยาจันทน์ลีลาได้ในหญิงที่มีไข้ทับระดูหรือไข้ระหว่างมีประจำเดือน

 

 

 

ยาประสะจันทน์แดง

ยาแคปซูล ยาผง ยาเม็ด ยาแคปซูล (รพ.) ยาผง (รพ.) ยาเม็ด (รพ.)

 

สูตรตำรับ:

ในผงยา 64 กรัม ประกอบด้วย
1. แก่นจันทน์แดง หนัก 32 กรัม
2. รากเหมือดคน รากมะปรางหวาน รากมะนาว หัวเปราะหอม โกฐหัวบัว แก่นจันทน์เทศ แก่นฝางเสน หนักสิ่งละ 4 กรัม
3. เกสรบัวหลวง ดอกบุนนาค ดอกสารภี ดอกมะลิ หนักสิ่งละ 1 กรัม

ตัวยาสำคัญ:
รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน (ไข้พิษ) แก้ร้อนในกระหายน้ำ

ขนาดและวิธีใช้:
ชนิดผง
ผู้ใหญ่
รับประทานครั้งละ 1 กรัม ละลายน้ำกระสายยา ทุก 3 - 4 ชั่วโมง
เด็ก อายุ 6 - 12 ปี
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม ละลายน้ำกระสายยา ทุก 3 - 4 ชั่วโมง
น้ำกระสายที่ใช้ ใช้น้ำสุก หรือน้ำดอกมะลิ
ชนิดแคปซูลและชนิดเม็ด
ผู้ใหญ่
รับประทานครั้งละ 1 กรัม ทุก 3 - 4 ชั่วโมง
เด็ก อายุ 6 - 12 ปี
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม ทุก 3 - 4 ชั่วโมง

ข้อควรระวัง:
- ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสรดอกไม้
- ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
- กรณีบรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

 

 

 

ยาประสะเปราะใหญ่

ยาผง ยาเม็ด ยาแคปซูล (รพ.) ยาผง (รพ.) ยาเม็ด (รพ.)

 

สูตรตำรับ:
ในผงยา 80 กรัม ประกอบด้วย
1. หัวเปราะหอม หนัก 40 กรัม
2. โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน ดอกกานพลู แก่นจันทน์เทศ แก่นจันทน์แดง ดอกบุนนาค ดอกสารภี ดอกพิกุล เกสรบัวหลวง หนักสิ่งละ 2 กรัม

ตัวยาสำคัญ:
รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
ถอนพิษไข้ตานซางสำหรับเด็ก

ขนาดและวิธีใช้:
ชนิดผงและชนิดเม็ด (แบบอัดเปียก)
เด็ก อายุ 1 – 5 ปี
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 1 กรัม ละลายน้ำกระสายยา ทุก 3 - 4 ชั่วโมง
น้ำกระสายยาที่ใช้ น้ำดอกไม้เทศหรือน้ำสุก
ชนิดแคปซูลและชนิดเม็ด
เด็ก อายุ 6 – 12 ปี
รับประทานครั้งละ 1 กรัม ทุก 3 - 4 ชั่วโมง

ข้อควรระวัง:
- ควรระวังในการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และ ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
- ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสรดอกไม้
- ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
- หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

 

 

 

ยามหานิลแท่งทอง

ยาเม็ด ยาแคปซูล (รพ.) ยาผง (รพ.) ยาเม็ด (รพ.)

สูตรตำรับ:
ในผงยา 103 กรัม ประกอบด้วย
1. เนื้อในเมล็ดสะบ้ามอญ (สุม) หวายตะค้า (สุม) เมล็ดมะกอก (สุม) ลูกมะคำดีควาย (สุม) ถ่านไม้สัก แก่นจันทน์แดง แก่นจันทน์เทศ ใบพิมเสน ใบย่านาง หมึกหอม หนักสิ่งละ 10 กรัม
2. เบี้ยจั่นคั่วให้เหลือง 3 กรัม

ตัวยาสำคัญ:
รูปแบบ/ความแรง:
ข้อบ่งใช้:
1. แก้ไข้กาฬ หัด อีสุกอีใส (บรรเทาอาการไข้จากไข้กาฬ หัด และอีสุกอีใส)
2. แก้ร้อนในกระหายน้ำ

ขนาดและวิธีใช้:
ชนิดผง
ผู้ใหญ่
รับประทานครั้งละ 1.5 - 2 กรัม ละลายน้ำสุก วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร
เด็ก อายุ 6 - 12 ปี
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม - 1 กรัม ละลายน้ำสุก วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร
ชนิดแคปซูลและชนิดเม็ด
ผู้ใหญ่
รับประทานครั้งละ 1.5 - 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร
เด็ก อายุ 6 - 12 ปี
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม - 1 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร

ข้อควรระวัง:
- ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
- หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

 

 

 

ยาห้าราก

ยาแคปซูล ยาผง ยาเม็ด

สูตรตำรับ:
ในผงยา 100 กรัม ประกอบด้วย
รากย่านาง รากคนทา รากมะเดื่อชุมพร รากชิงชี่ รากไม้เท้ายายม่อม หนักสิ่งละ 20 กรัม

ตัวยาสำคัญ:
รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
บรรเทาอาการไข้

ขนาดและวิธีใช้:
ชนิดผง
ผู้ใหญ่
รับประทานครั้งละ 1 – 1.5 กรัม ละลายน้ำสุก วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ
เด็ก อายุ 6 - 12 ปี
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 1 กรัม ละลายน้ำสุก วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ
ชนิดแคปซูลและชนิดเม็ด
ผู้ใหญ่
รับประทานครั้งละ 1 – 1.5 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ
เด็ก อายุ 6 - 12 ปี
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ

ข้อควรระวัง:
- ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
- หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
- ไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงที่มีไข้ทับระดูหรือไข้ระหว่างมีประจำเดือน

Visitors: 300,308