ยารักษากลุ่มอาการทางระบบผิวหนัง

บัญชียาหลักแห่งชาติ ด้านสมุนไพร

 

  • ยาทิงเจอร์ทองพันชั่ง
  • ยาทิงเจอร์พลู
  • ยาบัวบก
  • ยาเปลือกมังคุด
  • ยาพญายอ
  • ยาว่านหางจระเข้
  • ยาเมล็ดน้อยหน่า

 

 


ยาทิงเจอร์ทองพันชั่ง

ยาทิงเจอร์ (รพ.)

ตัวยาสำคัญ:
สารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (70 เปอร์เซ็นต์) ของใบทองพันชั่งสด (Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz) ร้อยละ 10 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร (w/v)

รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
ทาแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา น้ำกัดเท้า

ขนาดและวิธีใช้:
ทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น ทาจนกว่าจะหาย และใช้ต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 2 สัปดาห์

ข้อห้ามใช้:
- ห้ามทาบริเวณขอบตาและเนื้อเยื่ออ่อน
- ห้ามทาบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลหรือมีแผลเปิด

 

 

 

ยาทิงเจอร์พลู

ยาทิงเจอร์ (รพ.)

ตัวยาสำคัญ:
สารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (70 เปอร์เซ็นต์) ของใบพลูสด (Piper betle L.) ร้อยละ 50 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร (w/v)

รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
บรรเทาอาการผิวหนังอักเสบ อาการอักเสบจากแมลง กัด ต่อย

ขนาดและวิธีใช้:
ทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น

ข้อห้ามใช้:
- ห้ามทาบริเวณขอบตาและเนื้อเยื่ออ่อน
- ห้ามทาบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลหรือมีแผลเปิด

อาการไม่พึงประสงค์:
เมื่อทาติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้ผิวหนังเป็นสีดำ แต่เมื่อหยุดยาแล้วอาการจะหายไป

 

 

 

ยาบัวบก

ยาครีม ยาครีม (รพ.)

ตัวยาสำคัญ:
สารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (70 เปอร์เซ็นต์) ของใบบัวบกแห้ง [Centella asiatica (L.) Urb.] ร้อยละ 7 โดยน้ำหนัก (w/w)

รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
ใช้สมานแผล

ขนาดและวิธีใช้:
ทำความสะอาดแผลด้วยยาฆ่าเชื้อก่อนทายา ใช้ทาบริเวณที่เป็นแผลวันละ 1 - 3 ครั้ง หรือ ตามแพทย์สั่ง

ข้อห้ามใช้:
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้พืชในวงศ์ Apiaceae (Umbelliferae) เช่น ยี่หร่า ผักชี
- ห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง
- ห้ามใช้ในแผลเปิด

ข้อควรระวัง:
ควรหลีกเลี่ยงการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

อาการไม่พึงประสงค์:
มีรายงานว่าการทาสารสกัดใบบัวบกชนิดขี้ผึ้งหรือผง อาจทำให้เกิดผื่นแพ้สัมผัสได้

 

 


ยาเปลือกมังคุด

ยาน้ำใส (รพ.)

ตัวยาสำคัญ:
สารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (95 เปอร์เซ็นต์) ของเปลือกมังคุดแห้ง (Garcinia mangostana L.) ร้อยละ 10 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร (w/v)

รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
ทาแผลสด และแผลเรื้อรัง

ขนาดและวิธีใช้:
ทาบริเวณที่เป็นแผล วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น

ข้อห้ามใช้:
ห้ามทาบริเวณขอบตาและเนื้อเยื่ออ่อน

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ:
แพทย์แผนโบราณใช้เปลือกมังคุดฝนกับน้ำปูนใสในการรักษาแผลเบาหวาน

 

 


ยาพญายอ

ยาครีม ยาโลชัน สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) ยาโลชัน (รพ.) สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) (รพ.) ยาขี้ผึ้ง (รพ.) ยาทิงเจอร์ (รพ.)

ตัวยาสำคัญ:
สารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ของใบพญายอแห้ง [Clinacanthus nutans (Burm. f.) Lindau]

รูปแบบ/ความแรง:
สารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ของใบพญายอแห้ง [Clinacanthus nutans (Burm. f.) Lindau] โดยมีปริมาณแตกต่างกันตามรูปแบบยาดังนี้
1. ยาครีม ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (95 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอร้อยละ 4 - 5 โดยน้ำหนัก (w/w)
2. สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (70 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอในกลีเซอรีนร้อยละ 2.5 - 4 โดยน้ำหนัก (w/w)
3. ยาโลชัน ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (70 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอร้อยละ 1.25 โดยน้ำหนัก (w/w)
4. ยาขี้ผึ้ง ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (95 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอ ร้อยละ 4 - 5 โดยน้ำหนัก (w/w)
5. ยาทิงเจอร์ ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (70 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอสด ร้อยละ 10 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร (w/v)

ข้อบ่งใช้:
1. ยาครีม บรรเทาอาการของ เริมและงูสวัด
2. สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) รักษาแผลในปาก (aphthous ulcer) แผลจากการฉายรังสีและเคมีบำบัด
3. ยาโลชัน บรรเทาอาการ ผดผื่นคัน ลมพิษ ตุ่มคัน
4. ยาขี้ผึ้ง บรรเทาอาการอักเสบ ปวด บวมจากแมลงกัดต่อย
5. ยาทิงเจอร์ บรรเทาอาการของเริม และงูสวัด

ขนาดและวิธีใช้:
ทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 5 ครั้ง

 

 


ยาว่านหางจระเข้

ยาเจล ยาโลชันเตรียมสด (รพ.)

ตัวยาสำคัญ:
ชนิดเจล
ยาที่มีปริมาณของวุ้นว่านหางจระเข้ [Aloe vera (L.) Burm.f.] ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 โดยน้ำหนัก
ชนิดโลชันเตรียมสด
ยาที่มีปริมาณของวุ้นว่านหางจระเข้ [Aloe vera (L.) Burm.f.] ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 โดยน้ำหนัก (w/w)

รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก (burn)

ขนาดและวิธีใช้:
ชนิดเจล
ทาบริเวณผิวหนังที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก วันละ 3-4 ครั้ง
ชนิดโลชันเตรียมสด
ทาบริเวณผิวหนังที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก วันละ 3-4 ครั้ง

ข้อควรระวัง:
ไม่ควรใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ว่านหางจระเข้ หรือผลิตภัณฑ์ที่ผสมว่านหางจระเข้

อาการไม่พึงประสงค์:
อาจทำให้เกิดอาการคัน มีผื่นแดง หรือผื่นแพ้สัมผัสได้ หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดใช้ยาข้อมูลเพิ่มเติม ยาโลชันเตรียมสด มีอายุการเก็บ 7 วัน เก็บยาไว้ในตู้เย็น (อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส)

 

 


ยาเมล็ดน้อยหน่า

ยาครีม

ตัวยาสำคัญ:
ยาที่มีปริมาณน้ำมันบีบเย็นจากเมล็ดน้อยหน่า [Annona squamosa Linn.] ร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก (w/w)

รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
กำจัดเหา

ขนาดและวิธีใช้:
ชโลมครีม 20 - 30 กรัม ที่ผม ทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง ใช้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 สัปดาห์

ข้อห้ามใช้:
ควรระวังอย่าให้ครีมเข้าตา และอย่าใช้บริเวณที่มีแผลหรือแผลถลอก

อาการไม่พึงประสงค์:
อาจทำให้เกิดอาการคัน มีผื่นแดง หรือผื่นแพ้สัมผัสได้ หากมีอาการดังกล่าว ให้หยุดใช้ยา

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ:
- ควรใส่ครีมหมักผมติดต่อกันอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้ง เพื่อฆ่าตัวเหาใหม่ที่ออกมาจากไข่เหาให้ได้ทั้งหมด
- ควรเก็บยาไว้ในตู้เย็น (อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส)ฺ

Visitors: 299,015