ยาพัฒนาจากสมุนไพร สำหรับใช้ภายนอก

 

ยาพริก
ยาไพล
ยาน้ำมันไพล

 

ยาพริก

ยาเจล ยาครีม (รพ.) ยาเจล (รพ.) ยาขี้ผึ้ง (รพ.)

ตัวยาสำคัญ:
ยาที่มีสารสกัดจากผลพริกแห้ง (Capsicum annuum L., Capsicum frutescens L.) โดยควบคุมความแรงของสาร capsaicin ในผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปร้อยละ 0.025 โดยน้ำหนัก (w/w)

รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
บรรเทาอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ (musculoskeletal pain)

ขนาดและวิธีใช้:
ทาบริเวณที่ปวด 3 - 4 ครั้ง ต่อวัน

ข้อห้ามใช้:
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ capsaicin
- ห้ามสัมผัสบริเวณตา
- ระวังอย่าทาเจลบริเวณผิวที่บอบบางหรือบริเวณผิวหนังที่แตก เนื่องจากทำให้เกิดอาการระคายเคือง

ข้อควรระวัง:
- การใช้ร่วมกับยารักษาโรคหัวใจ กลุ่ม angiotensin-converting enzyme inhibitor (ACE inhibitor) อาจทำให้เกิดอาการไอเพิ่มขึ้น
- อาจเพิ่มการดูดซึมของยาโรคหอบหืด คือ theophylline ชนิดออกฤทธิ์เนิ่นนาน
- ควรระวังเมื่อใช้เจลพริกร่วมกับยากลุ่มต่อไปนี้
• Angiotensin converting enzyme inhibitors
• Anticoagulants
• Antiplatelet agents
• Barbiturates
• Low molecular weight heparins
• Theophylline
• Thrombolytic agents

อาการไม่พึงประสงค์:
ผิวหนังแดง ปวด และแสบร้อน

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ:
สาร capsaicin เป็นสารที่ได้จากการสกัดผลพริกแห้ง

 

 


ยาไพล

ยาครีม

ตัวยาสำคัญ:
ยาที่มีปริมาณน้ำมันหอมระเหยง่ายจากเหง้าไพล [Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr.] ร้อยละ 14 โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก (v/w)

รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
บรรเทาอาการบวม ฟกช้ำ เคล็ดยอก

ขนาดและวิธีใช้:
ทาและถูเบา ๆ บริเวณที่มีอาการวันละ 2 - 3 ครั้ง

ข้อห้ามใช้:
- ห้ามทาบริเวณขอบตาและเนื้อเยื่ออ่อน
- ห้ามทาบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลหรือมีแผลเปิด

 

 

 

ยาน้ำมันไพล

ยาน้ำมัน (รพ.)

ตัวยาสำคัญ:
สารสกัดน้ำมันไพล [Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr.] ที่ได้จากการทอด (hot oil extract) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ในตำรับ

รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
บรรเทาอาการบวม ฟกช้ำ เคล็ดยอก

ขนาดและวิธีใช้:
ทาและถูเบา ๆ บริเวณที่มีอาการวันละ 2 - 3 ครั้ง

ข้อห้ามใช้:
- ห้ามทาบริเวณขอบตาและเนื้อเยื่ออ่อน
- ห้ามทาบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลหรือมีแผลเปิด

Visitors: 300,216