มีบุตรยาก
การแพทย์แผนจีน มองว่าร่างกายและจิตใจมีความเชื่อมโยงกันและได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ แพทย์แผนจีนมีแนวทางด้านสุขภาพการเจริญพันธุ์แบบองค์รวม การเจริญพันธุ์ก็เช่นกัน ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ เช่น อาหาร วิถีชีวิต อารมณ์ ความเครียด อายุ พันธุกรรม และปัจจัยก่อโรคภายนอก
เมื่อพูดถึงมดลูก การแพทย์แผนจีนจะไม่ได้หมายถึงเพียงแต่เป็นอวัยวะทางกายภาพที่เป็นที่อยู่ของทารกในครรภ์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงอวัยวะสืบพันธุ์อื่นๆ เช่น รังไข่ ท่อนำไข่ และปากมดลูก
มดลูกในทางการแพทย์แผนจีน มีหน้าที่หลักสองประการคือ ควบคุมการมีประจำเดือน และดูแลทารกในครรภ์ในระหว่างตั้งครรภ์
ความสัมพันธ์ระหว่างมดลูก และอวัยวะภายในอื่น
มดลูกเชื่อมต่อกับไต หัวใจ ตับ ม้าม และกระเพาะอาหาร ผ่านช่องทางและหลอดเลือดต่างๆ มดลูกยังได้รับอิทธิพลจากเส้นลมปราณชงม่าย และเริ่นม่าย ซึ่งเป็นสองในแปดเส้นลมปราณพิเศษ ที่ควบคุมการไหลเวียนของชี่และเลือดในร่างกาย "
มดลูกอาศัยสารจำเป็นของไต (จิง) ในการผลิตเลือดประจำเดือน (เทียนกุ้ย) และบำรุงทารกในครรภ์ สารจำเป็นของไตนี้ เป็นแหล่งของชีวิตและการสืบพันธุ์ และจะลดลงตามอายุและการใช้งาน ดังนั้น การแพทย์แผนจีน จึงเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเก็บรักษาและเติมสารจิง เพื่อสุขภาพการเจริญพันธุ์
มดลูกยังอาศัยพลังชี่ของตับในการเคลื่อนย้ายเลือดประจำเดือน และเพื่อป้องกันความอ่อนล้า ความเจ็บปวด และการรบกวนทางอารมณ์ พลังชี่ตับได้รับผลกระทบได้ง่ายจากความเครียด ความโกรธ ความหงุดหงิด และอารมณ์เชิงลบอื่นๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์
มดลูกต้องพึ่งพาม้าม เพื่อแปรรูป และขนส่งอาหารและของเหลวไปเป็นเลือดและชี่ ซึ่งจำเป็นสำหรับมดลูกและทารกในครรภ์ ม้ามอ่อนแอลงได้จากโภชนาการที่ไม่ดี การกินมากเกินไป ความชื้น และความกังวล ซึ่งอาจนำไปสู่การพร่อง หรือการสะสมของเลือดและชี่ในมดลูก
มดลูกยังสื่อสารกับหัวใจ ซึ่งเป็นที่ตั้งของจิต (เสิน) และควบคุมเลือดและอารมณ์ หัวใจและมดลูกมีเลือดและจิตเดียวกันร่วมกัน ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมมดลูกจึงได้รับผลกระทบจากสภาวะทางอารมณ์ของหัวใจ
มดลูกยังเชื่อมต่อกับกระเพาะอาหารผ่านทางเส้นลมปราณชงม่าย Penetrating Vessel (Chong Mai 冲脉) ซึ่งอาจส่งผลต่อความอยากอาหาร การย่อยอาหาร และอาการคลื่นไส้ของมดลูก โดยเฉพาะในระหว่างตั้งครรภ์
สาเหตุ
การแพทย์แผนจีนจำแนกประเภทของการมีบุตรยาก จากอาการที่ปรากฎ สามารถจำแนกได้เป็น 6 ประเภท คือ
1) หยางของไตพร่อง
ประจำเดือนมีสีอ่อนจาง มีตกขาวสีขาวขุ่น มีอาการปวดเอวและเข่า ล้า บวม กลัวหนาว แขนขาเย็น รู้สึกเย็นในช่องท้องส่วนล่าง ลิ้นสีซีด ฝ้าบนลิ้นบางๆชุ่มชื้นสีขาว
2) หยินของไตพร่อง
ประจำเดือนมีสีแดงสด แต่มีน้อย ผู้มีบุตรยากจากหยินพร่องมักมีรูปร่างผอมบาง มักรู้สึกร้อนที่หน้าอก และมือ ปวดเอวและเข่า นอนไม่หลับ มีเสียงในหู ปากแห้ง ลิ้นมีสีแดง ฝ้าบนลิ้นน้อยหรือไม่มีฝ้า
3) เลือดและชี่พร่อง
ประจำเดือนมีสีอ่อนจาง และมาน้อย มีอาการเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย แขนขาชา นอนไม่หลับ ผิวซีดลง ใจสั่น ลิ้นสีซีด มีฝ้าบางสีขาว
4) ชี่และเลือดคั่ง
ประจำเดือนมีสีม่วงเข้ม มีลิ่มเลือดมาก มีอาการปวดประจำเดือน ผิวตกสะเก็ด ริมฝีปากสีม่วง มีจุดสีน้ำตาลบนใบหน้า ลิ้นสีแดงเข้ม อาจมีจ้ำเลือดตามขอบลิ้น
5) ชี่คั่งที่ตับ
ประจำเดือนมีสีแดงเข้ม มีลิ่มเลือดเล็กน้อย มักมีอาการปวดช่วงอกและช่องท้องก่อนมีประจำเดือน ไม่สบายใจ หงุดหงิด ซึมเศร้าโดยไม่มีสาเหตุ ลิ้นสีแดงเข้ม มีฝ้าบางสีขาว
6) เสมหะและความชื้นอุดตันในร่างกาย
มีตกขาวมาก มักมีน้ำหนักตัวมากกว่าเฉลี่ย แน่นหน้าอก คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ผิวซีด เวียนศีรษะ อ่อนล้า ลิ้นสีซีด ฝ้าบนลิ้นสีขาว
การแพทย์แผนจีนกับการเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์
การแพทย์แผนจีนช่วยเพิ่มโอกาสของผู้หญิงในการตั้งครรภ์ในหลายทาง เช่น
- สมุนไพรจีน ช่วยให้เกิดการตกไข่ได้ ด้วยการปรับสมดุลฮอร์โมนสฺ์เมื่อเกิดภาวะรังไข่ล้มเหลวในการทำงานก่อนวัยอันควร ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับฮอร์โมนส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิงที่มีอายุมากโดยที่ไม่พบสาเหตุของการมีบุตรยาก
- สมุนไพรจีน ช่วยปรับการไหลเวียนของเลือดให้สะดวก และเพียงพอที่จะบำรุงเลี้ยงตัวอ่อนที่จะมาฝังตัวในมดลูก ให้เจริญเติบโตเป็นทารกในครรภ์จนครบอายุครรภ์ตามธรรมชาติ
- สมุนไพรจีนสามารถแก้ไขความผิดปกติเชิงโครงสร้างของร่างกายที่นำไปสู่การมีบุตรยาก เช่นแผลเป็นที่เนื้อเยื่อที่กีดขวางในท่อนำไข่, เนื้องอกในโพรงมดลูก เป็นต้น
- ในฝ่ายชาย สมุนไพรจีนช่วยเพิ่มจำนวนอสุจิ ช่วยปรับปรุงการเคลื่อนไหวของอสุจิ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการปฎิสนธิ
จุดเด่นของการใช้การแพทย์แผนจีนในการแก้ไขปัญหามีบุตรยากก็คือ
• หลักการแพทย์แผนจีนจะใช้สมุนไพรจีนกระตุ้นกลไกของร่างกายในการรักษาตัวเองตามธรรมชาติ โดยพิเคราะห์ลึกลงไปถึงรากฐานของปัญหา ไม่ใช่เพียงแค่การรักษาอาการที่ปรากฎ
• การใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ดังเช่นสมุนไพรในการบำบัดรักษา เป็นการลดผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการ และพิษจากสารสังเคราะห์ที่จะสะสมในร่างกาย
การผสานการแพทย์แผนจีน ร่วมกับวิธีการแผนปัจจุบัน เพื่อแก้ไขการมีบุตรยาก
การแพทย์แผนจีนให้ความสำคัญกับร่างกาย และการเตรียมร่างกาย เช่น การปรับปรุงคุณภาพของไข่, อสุจิ ในขณะที่แผนปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับการผสมเทียม ดังเช่น IVF* หรือ IUI**
สำหรับคู่สามีภรรยาที่มีปัญหามีบุตรยาก สามารถเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ด้วยการผสานจุดเด่นของการแพทย์ทั้งสองระบบเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มโอกาสของการตั้งครรภ์ และรักษาให้ทารกในครรภ์ให้อยู่จนครบกำหนดคลอดได้
- ก่อนทำ IVF เราควรบำรุงไต บำรุงเลี้ยงโลหิต และทำให้โลหิตไหลเวียนดี จะให้ได้ไข่ที่มีคุณภาพ และมดลูกอยู่ในสภาวะเหมาะสมที่ตัวอ่อนจะฝังตัวได้ดี
- ระหว่างทำ IVF ต้องลดความร้อนและปรับสมดุลตับ ทำให้ร่างกายและมดลูกทำหน้าที่สัมพันธ์สอดคล้องกัน
- หลังการผสม ต้องบำรุงลี้ยง และอบอุ่นเลือด บำรุงม้ามและไต จะช่วยในการฝังตัว และพัฒนาการของตัวอ่อน และป้องกันการแท้งบุตร
* IVF มาจาก In vitro หมายถึง “ในแก้ว” คือการปฏิสนธิเกิดในจานแก้วในห้องปฏิบัติการ
** IUI มาจาก Intrauterine insemination คือการฉีดอสุจิเข้าโพรงมดลูก
-
ยาเม็ดป่ายฟุ่ง หรือแปะห่งอี๊ 白凤丸 เป็นตำรับยาบำรุงโลหิต และพลัง(ชี่) ใช้แก้ไขอาการหลายๆอย่างของสตรี เช่น ประจำเดือนไม่ปกติ บรรเทาอาการปวดประจำเดือน ป้องกันกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) และอาการของวัยหมดประจำเดือน
เป็นตำรับที่นิยมใช้ในสตรีผู้มีบุตรยาก -
บำรุงเลือด เหมาะสำหรับผู้มีปัญหาเลือดพร่อง เลือดไม่บริบูรณ์ สตรีที่สูญเสียโลหิตจากการมีประจำเดือน -
เป็นตำรับที่รวมตำรับโบราณสองตำรับคือ ซื่ออู่ทาง Si Wu Tang เสริมเลือด และตำรับ ซื่อจุนจื่อทาง Si Jun Zi Tang ซึ่งช่วยบำรุงชี่ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เลือดและพลัง(ชี่)พร่อง
-
กระเพาะปลา ช่วยบำรุงเลี้ยงหยิน บำรุงตับและไต ช่วยเสริมสร้างเลือด บำรุงเลี้ยงสาร"จิง" ซึ่งเป็นหยินของไตให้บริบูรณ์ ทำให้ร่างกายแข็งแรงสมวัย มีความพร้อมพื้นฐานในการมีบุตร เป็นหนึ่งในสมุนไพรที่ช่วยเตรียมความพร้อมของร่างกายในการมีบุตรให้กับคุณแม่คนใหม่ในอนาคต