เก๋ากี้ดำ 黑枸杞 Hei Gou Qi
เก๋ากี้ดำ 黑枸杞
ชื่อลาติน : Lycium ruthenicum Murr
ชื่อสามัญ : Black wolfberry
ตำราโบราณทางการแพทย์ ของทิเบตบันทึกการใช้เก๋ากี้ดำไว้ว่า เป็นยาสำหรับการรักษาโรคหัวใจ แก้ไขประจำเดือนผิดปกติ ใช้เป็นยาสำหรับสตรีในวัยหมดประจำเดือน อย่างมีประสิทธิภาพ ในการใช้งานพื้นบ้าน ช่วยลดความดันโลหิต
แพทย์ท้องถิ่นอุยกูร์ ใช้ผลเก๋ากี้ดำและเปลือกรากในการรักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ โรคหิดกลาก เลือดออกตามไรฟัน ในทางพื้นบ้านใช้เเก๋ากี้ดำเพื่อบำรุงสายตาและใช้ในโรคความดันโลหิตสูง
เก๋ากี้ดำมีปริมาณแร่ธาตุสำคัญสูง เช่น เหล็ก ทองแดง ซิงค์ แม๊กเนเซียม และ Anthocyanin
Anthocyanin แอนโธไซยานิน เป็นสารสีม่วงในผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมอง ด้วยการยับยั้งไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อน ชะลอความเสื่อมของดวงตา ช่วยยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) อีโคไล (Escherichia coli) ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคท้องร่วงและอาหารเป็นพิษด้วย *
เก๋ากี้ดำ มีรสหวานปะแล่มๆ อมเปรี้ยวนิดๆ ไม่หวานจัดเหมือนเก๋ากี้แดง สารแอนโธไซยานินในเก๋ากี้ดำให้สีฟ้าอมม่วงสวยงาม สามารถใช้แต่งสีเครื่องดื่มแก้วโปรดของคุณได้ เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่มีสีสันสวยงาม
การใช้เก๋ากี้ดำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพในปัจจุบัน
เพิ่มภูมิต้านทาน, ชลอความชรา
เก๋ากี้ดำมีส่วนประกอบของกลูโคไซด์ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติ ชลอความเสื่อมของเซลล์ คงความหนุ่มสาวของร่างกาย
หล่อเลี้ยงสารจำเป็น(จิง) กำจัดอนุมูลอิสระ
แอนโธไซยานินซึ่งมีมากในเก๋ากี้ดำช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ ช่วยจำกัดการแพร่ขยายของเซลล์มะเร็ง
ดับกระหาย ปรับการไหลเวียน
แอนโธไซยานีนช่วยปรับปรุงการไหลเวียนของเลือด ฟื้นฟูการสูญเสียของการทำงานของ microvascular ทำให้หลอดเลือดแข็งแรง มีความยืดหยุ่น
ปกป้องผิว
แอนโธไซยานีนในเก๋ากี้ดำ ช่วยปกป้องผิวหนังจากริ้วรอยที่เกิดจากอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่ทรงประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระ
ช่วยในการมองเห็น
การรับประทานเก๋ากี้ดำเป็นเครื่องดื่ม ในระยะยาวจะช่วยปกป้องระบบการมองเห็น เช่น สายตาสั้นเทียมในวัยรุ่น เลือดออกในจอประสาทตา เบาหวานขึ้นจอประสาทตา ต้อกระจก การล้าของตา ตาแห้ง ในวัยกลางคนและในผู้สูงอายุ
ผลเก๋ากี้ดำช่วยป้องกันและรักษาเบาหวาน ปกป้องตับ ต่อต้านเนื้องอก ปกป้องหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
[* ข้อมูลจาก http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1103/anthocyanin-แอนโทไซยานิน โดย ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิธิยา รัตนาปนนท]