เอี่ยกำเก็ก 洋甘菊 Chamomile
เอี่ยกำเก็ก 洋甘菊
มีชื่ออื่นๆว่า German chamomile, wild chamomile, Hungarian chamomile, pineapple weed.
คุณสมบัติตามหลักการแพทย์แผนจีนคือ รสหวาน ขมเล็กน้อย ฤทธิ์กลาง ออกฤทธิ์ตามเส้นลมปราณของหัวใจและกระเพาะอาหาร
สรรพคุณ แก้ปวดกระเพาะอาหาร ใช้ในโรคลำไส้แปรปรวน
ปริมาณการใช้
ครั้งละ 3-5 กรัม
ในประเทศทางตะวันตก คาโมไมล์เป็นที่นิยมใช้เป็นยามานานนับพันปีย้อนกลับไปถึงสมัยอียิปต์ ในปัจจุบันนิยมใช้คาโมไมล์ในเรื่องเกี่ยวกับ การผ่อนคลาย, ปัญหากระเพาะอาหาร, กล้ามเนื้อกระตุก, ปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง เป็นต้น
▶ นอนไม่หลับ วิตกกังวล ◀
มีงานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่า ถ้าให้คาโมไมล์ในปริมาณน้อยจะช่วยลดความวิตกกังวล ถ้าใช้ปริมาณมากจะทำให้หลับ
▶ ปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อย ◀
นิยมใช้คาโมไมล์กับอาการปวดกระเพาะอาหาร, ลำไส้แปรปรวน (IBS), อาหารไม่ย่อย, ท้องเสีย, ลม, โคลิค ซึ่งช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ คลายการหดเกร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่กล้ามเนื้อเรียบ อย่างไรก็ตามกลัับไม่มีการศึกษาวิจัยชิ้นที่สมบูรณ์ในมนุษย์ในเรื่องเหล่านี้
แม้ว่าคาโมไมล์จัดว่าปลอดภัยสำหรับการใช้ แต่คาโมไมล์ก็ไม่เหมาะสำหรับบางกลุ่ม เช่น
- ผู้เป็นโรคหอบ หืด เพราอะอาจทำให้อาการของโรคแย่ลง
- ผู้มีความเสี่ยงจากมะเร็งที่เกิดจากฮอร์โมนส์ เช่นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพราะคาโมไมล์มีการออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนส์เอสโตรเจน
- หญิงตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้เกิดการแท้งบุตรได้
- การใช้คาโมไมล์เข้มข้นหรือปริมาณสูง อาจทำให้อาเจียนได้
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของคาโมไมล์
- ต้านการหดเกร็ง
- ต้านความวิตกกังวล ทำให้ผ่อนคลาย,
- ต้านการอักเสบ
- ป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร
- ต้านเชื้อแบคทีเรีย : น้ำมันหอมระเหยในหลอดทดลอง แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus, Mycobacterium B6, Michigan, Corynebacterium, Candida albicans
- แก้คัน,
- ควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน
- สารต้านอนุมูลอิสระ
- ฤทธิ์ยับยั้งการกลายพันธุ์