ตาแห้ง แก้ไขด้วยแผนจีน

ตาแห้ง เกิดขึ้นได้เมื่อน้ำตาหลั่งไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป สาเหตุได้แก่ อายุมากขึ้น เพศ (หญิง) โรคภูมิคุ้มกัน เบาหวาน การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ตา การใช้ยาบางอย่าง (เช่น ยาแก้แพ้ ยากล่อมประสาท เป็นต้น) การขาดวิตามินเอ การใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน , อากาศแห้ง, ใช้สายตามากเกินไปและกะพริบตาน้อย เป็นต้น


ตาแห้ง แก้ไขได้ด้วยการแพทย์แผนจีน

ในการรักษาตาแห้ง นอกจากการรักษาจักษุแพทย์แบบตะวันตกแล้ว การรักษาด้วยยาจีนยังมีผลที่ชัดเจนอีกด้วย ผลของการรักษาร่วมกันของแพทย์แผนจีนและตะวันตกนั้นดีกว่าน้ำตาเทียมเพียงอย่างเดียว


ในทัศนะของการแพทย์แผนจีน ของเหลวในร่างกายของอวัยวะภายในจะหล่อเลี้ยงดวงตาได้ หากของเหลวในร่างกายไม่เพียงพอก็จะไม่สามารถส่งไปหล่อเลี้ยงสายตา หรือร่างกาย การอุดตันในกระบวนการกระจาย พลัง(ชี่)อ่อนล้า การแข็งตัวของเสมหะ และภาวะชะงักงันของเลือด ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสาเหตุทำให้ตาแห้งได้


วิธีป้องกันและดูแลตาแห้ง

1. พักสายตา : ใช้ดวงตาทุกๆ 30 นาที ให้พักเป็นเวลา 10 นาที หากสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยให้พักช่วงสั้นๆ คุณยังสามารถกะพริบตามากขึ้น และหลับตาครั้งละ 2 วินาที ซึ่งสามารถลดอาการตาแห้งได้เช่นกัน

2. นอนหลับให้เพียงพอ อย่านอนดึก

3. ใช้ความร้อนรอบดวงตาครั้งละ 10 ถึง 15 นาที

4. นวดกดจุด , นวดคลึงจุด Jingming 睛明, Zanzhu 攢竹, Sizhukong 絲竹空, Taiyang 太陽穴, Sibai 四白穴 และ Fengchi 風池穴 แต่ละจุดเป็นเวลาประมาณ 1 นาที

5. อาหารที่สมดุล การดื่มน้ำที่เพียงพอ และการเสริมวิตามินเอ (อาหารที่อุดมด้วยวิตามินเอ เช่น นม ปลาที่อุดมด้วยน้ำมัน ชีส ผักโขม กะหล่ำดอก แครอท มะเขือเทศเนื้อ ฟักทอง พริกหยวก มะม่วง ฯลฯ) และน้ำมันปลา หากจำเป็น

6. หลีกเลี่ยงการใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน

7. ใส่ใจกับความชื้นในอากาศ : ในสภาพอากาศที่แห้ง หรือในห้องแอร์ ให้ใส่น้ำ 1 ถ้วยตั้งไว้ในบ้าน เพื่อรักษาความชื้นภายในห้อง

8. เมื่อใช้น้ำตาเทียม ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสารกันบูด

9. ชาสมุนไพรจีน:

  • 枸杞菊花茶 ชาเก๊กฮวยเก๋ากี้ : เก๋ากี้มีฤทธิ์กลาง รสหวานเล็กน้อย และมีผลในการบำรุงตับและไต และปรับปรุงสายตา สามารถใช้ร่วมกับเก๊กฮวย เพื่อคลายความร้อนและปรับปรุงสายตา
  • 枸杞夏枯草 ชาเก๋ากี้แห่โกวเช่า : แห่โกวเช่า มีรสขม ฤทธิ์เย็น มีฤทธิ์ในการดับไฟตับ ใช้สำหรับผู้ที่มีอาการทางความร้อนอย่างเห็นได้ชัด มีอาการตาแห้ง และแสบร้อน ตาบวม แดง ต้มแห่โกวเช่าร่วมกับเก๋ากี้ เป็นชาดับร้อน แก้อาการเกี่ยวกับตาดังกล่าว
  • 黃耆枸杞紅棗茶 ชา Astragalus, wolfberry และ red date: ใช้สำหรับผู้ที่มีอาการขาดสารอาหารเนื่องจากพลัง(ชี่)และเลือดไม่เพียงพอ และผู้ที่มักจะอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ และตาแห้ง

ชาสามตำรับข้างต้น สามารถเลือกใช้ได้ตามอาการที่ปรากฎ

10. ยาจีนบำรุงสายตา ตำรับยาจีน 杞菊地黄丸 Qijudihuangwan ประกอบด้วยเก๊กฮวย เก๋ากี้ ซึ่งช่วยบำรุงสายตา และสมุนไพรในตำรับ ลิ่วเว่ยตี้หวงหยวน 六味地黄丸 ซึ่งช่วยบำรุงหยินของไต สร้างสารเหลวในร่างกาย จึงมีประโยชน์ต่ออาการตาแห้ง


  • เมาค้าง.jpg
    เมาค้างคือ อาการเมาค้างที่มักเกิดขึ้น ได้แก่ เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ปวดศีรษะ ไวต่อแสงและเสียงรบกวน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย สั่น กระหายน้ำ ตาแดง เป็นต้น สาเหตุ ก...

  • ปอดพร่อง.jpg
    เมื่อปอดทำงานลดลง จะส่งผลต่อการหายใจ การวิจัยทางการแพทย์สมัยใหม่แสดงให้เห็นว่าอายุขัยของบุคคล นั้นสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับขนาดของความจุของปอดซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาณบ่งชี้สุขภาพและพ...

  • ร้อนใน.jpg
    ร้อนใน เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นได้กับผู้ที่ตรากตรำงานหนัก อดนอน ท้องผูก ทานอาหารฤทธิ์ร้อนเป็นประจำ หรือแม้แต่การอยู่ในที่มีอากาศร้อน สัญญาณ ของอาการร้อนใน ที่เรารู้กันทั่วไปคือ การเ...

  • หวัด-แพ้อากาศ.jpg
    แพ้อากาศ แม้จะมีอาหารน้ำมูกไหล แต่ก็ไม่ใช่โรคหวัด เรามาดูความแตกต่างระหว่างสองโรคนี้กันหวัด เกิดจากการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล ไข้ เจ็บคอ อ...

  • จุดกดลดปวดหัว.jpg
    เวียนหัว ปวดหัว แต่ไม่อยากใช้ยา ทำไงดี วันนี้ เรามีวิธีนวดกดจุด แก้ปวดหัวเวียนหัวมาฝาก ♦️ จุดเฟิงฉือ 风池ตำแหน่ง : อยู่ด้านหลังศีรษะเริ่มจากหูไล่ไปข้างหลังจะพบรอยนูนของกระดูก จุดเฟิง...

  • จุดกดลดคัดจมูก_v2.jpg
    วันนี้เรามีวิธีบำบัดอาการคัดจมูกน้ำมูกไหลด้วยตัวเอง ตามแนวทางการแพทย์แแผนจีนด้วยการกดจุดมาฝาก จุดไป่ฮุ่ย 百会 Baihuiตำแหน่ง เป็นจุดตัดระหว่างเส้นกลางศีรษะและเส้นลากระหว่างปลายหูทั้ง...

  • เบาหวานในทัศนะการแพทย์แผนจีน ในตำราการแพทย์แผนจีนคลาสสิก “หวงตี้เน่ยจิง” ที่เขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น (ประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช) กล่าวถึงโรคเบาหวาน ในอาการ " xiao ke " และ "f...


  • หวัดในทางการแพทย์แผนจีน2.jpg
    อาการต่างๆของโรคหวัด เกิดเมื่อพลังของร่างกายต่อสู้กับเหตุแห่งโรคที่รุกล้ำเข้ามา เมื่อเป็นหวัด ในทางการแพทย์แผนจีน จะต้องแยกแยะก่อนว่าเป็นหวัดแบบไหน ซึ่งจำแนกจากที่เป็นกันบ่อยในบ้าน...

  • ปวดส้นเท้า.jpg
    หยินของไตพร่อง และอาการปวดส้นเท้า ในการแพทย์แผนจีน (การแพทย์แผนจีน) อาการปวดส้นเท้าอาจเป็นอาการของภาวะขาดหยิน ซึ่งหมายถึงความไม่สมดุลของพลังงานหยินและหยางในร่างกาย หยินและหยางเป็นพ...
Visitors: 254,675