ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ

ยาฟ้าทะลายโจร

ยาแคปซูล ยาเม็ด ยาลูกกลอน ยาแคปซูล (รพ.) ยาลูกกลอน (รพ.)

ตัวยาสำคัญ:
ผงจากส่วนเหนือดินของฟ้าทะลายโจร [Andrographis paniculata (Burm. f.) Wall. ex Nees] ที่มีสารสำคัญ total lactone โดยคำนวณเป็น andrographolide ไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 โดยน้ำหนัก (w/w)

รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
1. บรรเทาอาการเจ็บคอ
2. บรรเทาอาการของโรคหวัด (common cold) เช่น เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

ขนาดและวิธีใช้:
บรรเทาอาการหวัด เจ็บคอ รับประทานครั้งละ 1.5 – 3 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน

ข้อห้ามใช้:
- ห้ามใช้ในผู้ที่มีอาการแพ้ฟ้าทะลายโจร
- ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร เนื่องจากอาจทำให้เกิดทารกวิรูปได้
- ห้ามใช้ฟ้าทะลายโจรสำหรับแก้เจ็บคอในกรณีต่าง ๆ ต่อไปนี้
- ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อ Streptococcus group A
- ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคไตอักเสบ เนื่องจากเคยติดเชื้อ Streptococcus group
- ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค
- ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีอาการรุนแรง เช่น มีตุ่มหนองในคอ มีไข้สูง และหนาวสั่น

ข้อควรระวัง:
- หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้แขนขามีอาการชาหรืออ่อนแรง
- หากใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 3 วัน แล้วไม่หาย หรือ มีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยา ควรหยุดใช้และพบแพทย์
- ควรระวังการใช้ร่วมกับสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
- ควรระวังการใช้ร่วมกับยาลดความดันเลือดเพราะอาจเสริมฤทธิ์กันได้
- ควรระวังการใช้ร่วมกับยาที่กระบวนการเมแทบอลิซึม ผ่านเอนไซม์ Cytochrome P450 (CYP 450) เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP 1A2, CYP 2C9 และ CYP 3A4

อาการไม่พึงประสงค์:
อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติของทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ เบื่ออาหาร วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น และอาจเกิดลมพิษได้


  • แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มยาขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ กลุ่มยาบรรเทาอาการท้องผูก กลุ่มยาบรรเทาอาการท้องเสีย กลุ่มยาบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน กลุ่มยารักษาแผลในกระเพาะอ...

  • ยาทิงเจอร์ทองพันชั่ง ยาทิงเจอร์พลู ยาบัวบก ยาเปลือกมังคุด ยาพญายอ ยาว่านหางจระเข้ ยาเมล็ดน้อยหน่า ยาทิงเจอร์ทองพันชั่ง ยาทิงเจอร์ (รพ.) ตัวยาสำคัญ:สารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (70 เป...

  • แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ตามวิธีใช้งานคือ ยาสำหรับรับประทาน ยาสำหรับใช้ภายนอก

  • ยากระเจี๊ยบแดงยาหญ้าหนวดแมว ยากระเจี๊ยบแดง ยาชง (รพ.) ตัวยาสำคัญ:ผงกระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa L.) รูปแบบ/ความแรง: ข้อบ่งใช้:ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา ขนาดและวิธีใช้:รับประทาน ...

  • ยาบัวบกยามะระขี้นกยารางจืดยาหญ้าปักกิ่ง ยาบัวบก ยาแคปซูล (รพ.) ยาชง(รพ.) ตัวยาสำคัญ:ผงจากส่วนเหนือดินของบัวบก [Centella asiatica (L.) Urb.] รูปแบบ/ความแรง: ข้อบ่งใช้:แก้ไข้ แก้ร้อ...

  • ยารางจืด ยาชง (รพ.) ตัวยาสำคัญ:ผงใบรางจืดโตเต็มที่ (Thunbergia laurifolia Lindl.) รูปแบบ/ความแรง: ข้อบ่งใช้:ถอนพิษเบื่อเมา ขนาดและวิธีใช้:รับประทานครั้งละ 2 – 3 กรัม ชงน้ำร้อนประม...

  • ยาหญ้าดอกขาว ยาชง (รพ.) ตัวยาสำคัญ:ผงหญ้าดอกขาว [Vernonia cinerea (L.) Less.] รูปแบบ/ความแรง: ข้อบ่งใช้:ลดความอยากบุหรี่ ขนาดและวิธีใช้:รับประทานครั้งละ 2 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 120...
Visitors: 300,422