ยาพัฒนาจากสมุนไพร สำหรับรับประทาน

บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร

ยาเถาวัลย์เปรียง
ยาสารสกัดจากเถาวัลย์เปรียง

 

 


ยาเถาวัลย์เปรียง

ยาแคปซูล (รพ.)

ตัวยาสำคัญ:
ผงจากเถาของเถาวัลย์เปรียง [Derris scandens (Roxb.) Benth.]

รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ

ขนาดและวิธีใช้:
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทันที

ข้อห้ามใช้:
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์

ข้อควรระวัง:
- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคแผลเปื่อยเพปติก เนื่องจากเถาวัลย์เปรียงออกฤทธิ์คล้ายยาแก้ปวดกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs)
- อาจทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร

อาการไม่พึงประสงค์:
ปวดท้อง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย คอแห้ง ใจสั่น

 

 


ยาสารสกัดจากเถาวัลย์เปรียง

ยาแคปซูล

ตัวยาสำคัญ:
สารสกัดจากเถาของเถาวัลย์เปรียง [Derris scandens (Roxb.) Benth.] ที่สกัดด้วย 50 เปอร์เซ็นต์ของเอทิลอัลกอฮอล์

รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
บรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง (low back pain) และอาการปวดจากข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis)

ขนาดและวิธีใช้:
รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารทันที

ข้อห้ามใช้:
ห้ามใช้กับหญิงตั้งครรภ์

ข้อควรระวัง:
- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคแผลเปื่อยเพปติก เนื่องจากเถาวัลย์เปรียงออกฤทธิ์คล้ายยาแก้ปวดกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs)
- อาจทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร

อาการไม่พึงประสงค์:
เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อุจจาระเหลว


  • ยาพริกยาไพลยาน้ำมันไพล ยาพริก ยาเจล ยาครีม (รพ.) ยาเจล (รพ.) ยาขี้ผึ้ง (รพ.) ตัวยาสำคัญ:ยาที่มีสารสกัดจากผลพริกแห้ง (Capsicum annuum L., Capsicum frutescens L.) โดยควบคุมความแรงข...
Visitors: 300,163