ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินปัสสาวะ

ยากระเจี๊ยบแดง
ยาหญ้าหนวดแมว

 

 

 

ยากระเจี๊ยบแดง

ยาชง (รพ.)

ตัวยาสำคัญ:
ผงกระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa L.)

รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา

ขนาดและวิธีใช้:
รับประทาน ครั้งละ 2 – 3 กรัม ชงน้ำร้อน 120 – 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

ข้อห้ามใช้:
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง

ข้อควรระวัง:
กระเจี๊ยบแดงอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบาย

อาการไม่พึงประสงค์:
อาจมีอาการปวดมวนท้องได้

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ:
- ควรหลีกเลี่ยงการกินกระเจี๊ยบแดงติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากผลการศึกษา ในสัตว์ทดลองพบว่า ทำให้เกิดพิษต่อเซลล์ของอัณฑะและตัวอสุจิได้
- ควรหลีกเลี่ยงการกินกระเจี๊ยบแดงติดต่อกันเป็นเวลานานในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร เนื่องจากผลการศึกษาในหนู (rat) พบว่าอาจทำให้ลูกหนูเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้าลง
- ส่วนที่ใช้ของกระเจี๊ยบแดง ได้จากส่วนกลีบเลี้ยง

 

 

 

ยาหญ้าหนวดแมว

ยาชง ยาชง (รพ.)

ตัวยาสำคัญ:
ผงจากใบและส่วนยอดของหญ้าหนวดแมว [Orthosiphon aristatus (Blume) Miq.]

รูปแบบ/ความแรง:

ข้อบ่งใช้:
ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา ขับนิ่วขนาดเล็ก

ขนาดและวิธีใช้:
รับประทานครั้งละ 2 - 3 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 120 - 200 มิลลิลิตร ดื่มวันละ 2 - 3 ครั้ง

ข้อห้ามใช้:
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของหัวใจและ/หรือไตบกพร่อง

ข้อควรระวัง:
- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ต้องจำกัดปริมาณโพแทสเซียม เช่น ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ เนื่องจากยาหญ้าหนวดแมวมีปริมาณโพแทสเซียมสูง
- ควรระวังการใช้ร่วมกับยาลดน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทาน (Oral hypoglycemic agents) หรือร่วมกับการฉีดอินสุลิน เพราะอาจทำให้เกิดการเสริมฤทธิ์กันได้


  • แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มยาขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ กลุ่มยาบรรเทาอาการท้องผูก กลุ่มยาบรรเทาอาการท้องเสีย กลุ่มยาบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน กลุ่มยารักษาแผลในกระเพาะอ...

  • ยาฟ้าทะลายโจร ยาแคปซูล ยาเม็ด ยาลูกกลอน ยาแคปซูล (รพ.) ยาลูกกลอน (รพ.) ตัวยาสำคัญ:ผงจากส่วนเหนือดินของฟ้าทะลายโจร [Andrographis paniculata (Burm. f.) Wall. ex Nees] ที่มีสารสำคัญ t...

  • ยาทิงเจอร์ทองพันชั่ง ยาทิงเจอร์พลู ยาบัวบก ยาเปลือกมังคุด ยาพญายอ ยาว่านหางจระเข้ ยาเมล็ดน้อยหน่า ยาทิงเจอร์ทองพันชั่ง ยาทิงเจอร์ (รพ.) ตัวยาสำคัญ:สารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (70 เป...

  • แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ตามวิธีใช้งานคือ ยาสำหรับรับประทาน ยาสำหรับใช้ภายนอก

  • ยาบัวบกยามะระขี้นกยารางจืดยาหญ้าปักกิ่ง ยาบัวบก ยาแคปซูล (รพ.) ยาชง(รพ.) ตัวยาสำคัญ:ผงจากส่วนเหนือดินของบัวบก [Centella asiatica (L.) Urb.] รูปแบบ/ความแรง: ข้อบ่งใช้:แก้ไข้ แก้ร้อ...

  • ยารางจืด ยาชง (รพ.) ตัวยาสำคัญ:ผงใบรางจืดโตเต็มที่ (Thunbergia laurifolia Lindl.) รูปแบบ/ความแรง: ข้อบ่งใช้:ถอนพิษเบื่อเมา ขนาดและวิธีใช้:รับประทานครั้งละ 2 – 3 กรัม ชงน้ำร้อนประม...

  • ยาหญ้าดอกขาว ยาชง (รพ.) ตัวยาสำคัญ:ผงหญ้าดอกขาว [Vernonia cinerea (L.) Less.] รูปแบบ/ความแรง: ข้อบ่งใช้:ลดความอยากบุหรี่ ขนาดและวิธีใช้:รับประทานครั้งละ 2 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 120...
Visitors: 300,309